สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยร่วมงานพิธีเปิดงานสัมมนาทูน่าโลกปี 2559 และเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงค๊อกเทล
กรุงเทพฯ – วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และกรรมการสมาคมฯ เข้าร่วมพิธีเปิดงาน INFOFISH WORLD TUNA CONFERENCE AND EXHIBITION ครั้งที่ 14 โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23- 25 พฤษภาคม 2559 ณ โรงแรมแชงกลีร่า กรุงเทพฯ
พร้อมกันนี้ ดร.ชนินทร์ฯ ได้รับเชิญให้เป็นประธานร่วมในงานสัมมนาทูน่าโลก 2559 และได้รับเชิญให้ร่วมบรรยายในหัวข้อ “ความท้าทายของอุตสาหกรรมทูน่าไทย” ดร.ชนินทร์กล่าวว่า สมาคมฯ ให้ความสำคัญต่อนโยบายหลัก 3 ด้าน คือ ความปลอดภัยอาหาร(Food Safety) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน(Sustainability) และจริยธรรมด้านแรงงาน (Ethical Standard) เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมทูน่าเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในด้านการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน วัตถุดิบทูน่าที่นำเข้าและผลิตในโรงงานสมาชิกของสมาคมฯ ส่วนใหญ่มาจากมหาสมุทรแปรซิฟิคตอนกลางและตะวันตก (the Western and Central Pacific Ocean) และมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean) ภายใต้การควบคุมและจัดการขององค์กรบริหารจัดการประมงภูมิภาค (Regional Fisheries Management Organizations (RFMO’s)) นอกจากนี้ สมาคมฯ สนับสนุนการปฏิบัติตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2559 แผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย นโยบายแห่งชาติด้านการจัดการประมงทะเล พ.ศ. 2558 – 2562 ในเรื่องของจริยธรรมแรงงาน สมาชิกของสมาคมฯ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานไทย และสมาคมฯ ได้ส่งเสริมการนำแนวปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานไปใช้ในโรงงานของสมาชิกเพื่อการพัฒนาสภาพการทำงานและสวัสดิการของแรงงานที่ยั่งยืน
ในช่วงเย็นของวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยได้เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงรับรองภาคค่ำ เพื่อต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและผู้เข้าร่วมงานสัมมนาทูน่าโลก จากหลากหลายหน่วยงาน ร่วม 300 คน อาทิเช่น ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ สถานทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย นักธุรกิจ สมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย องค์การNGOs เป็นต้น โดยทางสมาคมฯ ได้รับเกียรติจาก 4 ท่าน กล่าวเปิดงานเลี้ยงรับรอง ได้แก่ (1) Dr. Abdul Basir Kunhimohamed, Director INFOFISH (2) Mr. Adolfo Valsecchi, Conference Chairman (3) Dr. Chanintr Chalisarapong, TTIA President และ (4) Mr Paolo Bay, Founder and Director of Friend of the Sea.
ในช่วงงานเลี้ยง ทางสมาคมฯ ได้นำเสนอสื่อวีดีทัศน์ประมาณ 18 นาที เพื่อแนะนำความเป็นมา พันธกิจ และกิจกรรมของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และนำเสนอวีดีทัศน์อีก 3 เรื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ข้อมูลกับแขกทุกท่าน ในเรื่องความพยายามของรัฐบาลไทยในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย และพันธะของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยในด้านการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและจริยธรรมด้านแรงงาน โดยวิดีทัศน์ 3 ชุด ประกอบด้วย (1) Thailand’s Improvement on Fishing Controls and Labour Standards จัดทำโดยศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) (2) Progress of Good Labour Practice in Thai Tuna Industry จัดทำโดยสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยและสมาคมผู้ผลิตอาหาร และ (3) Sustainability on Dolphin Safe Fishing and the Dolphin Safe Tuna Monitoring Program produced จัดทำโดย Earth Island Institute และ Friend of the Sea.
กรุงเทพฯ – เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 เวลา 10.00 น. สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (Thai Tuna Industry Association – TTIA) ร่วมกับ 3 หน่วยงาน ได้แก่ Friend of the Sea (FOS), สมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายสินค้าอาหารของสหราชอาณาจักร (British Food Importers & Distributors Association) และ International Pole and Line Foundation (IPNLF) ได้ชี้แจงและให้ความเห็น เรื่อง อนาคตอุตสาหกรรมทูน่าในตลาดโลก ประเด็นการใช้ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน และการทำประมงถูกกฎหมาย ณ ห้องคอรันดัม โรงแรมแชงกลีร่า กรุงเทพฯ ในช่วงงานสัมมนาทูน่าโลก 2559
โดยมีรายชื่อผู้นำเสนอดังนี้ Click to download their Press Release
- ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์, นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย
- นายเปาโล เบย์ (Mr. Paolo Bray), Founder and Director of Friend of the Sea (FOS)
- นายอัลโดโฟ วาลเซลชี (Mr. Adolfo Valsecchi), Chairman of Conference of World Tuna 2016
- นายวอลเตอร์ แอนเซอร์ (Mr. Walter Anzer), Director General of British Food Importers & Distributors Association
- นางสาวนาตาเลีย เวปสเตอร์ (Ms. Natalie Webster), Vice Chair of International Pole and Line Foundation (IPNLF)
ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน ปริมาณวัตถุดิบปลาทูน่าของโลกที่จับได้มีจำกัดปีละประมาณ 5 ล้านตัน ในจำนวนนี้ ประเทศไทยนำเข้าผลิตและแปรรูปส่งออกสัดส่วน 15-18% ของปริมาณปลาทูน่าที่จับได้ หรือ คิดเป็นปริมาณ 7-8 แสนตันต่อปี ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืน เช่น การใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะปลาทูน่า การส่งเสริมการทำประมงที่ถูกกฎหมาย การเป็นหน่วยงานที่จะดูแลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศตน เป็นต้น
ดร.ชนินทร์ ชึ้แจงว่า “ จุดยืนของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยต่อหลักการแก้ไขปัญหา IUU-fishing ยึดมั่นใน 4 หลักการ ดังนี้ ”
(1) ยึดมั่นตามหลักวิชาการและข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ (Base on Scientific Data) ของ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) หรือ กรมประมง (Department of Fisheries) หรือ สหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ดีที่สุด เพื่อนำ มาแก้ไขการจัดการทรัพยากรทางทะเลของไทยให้ดีขึ้นตามหลักสากล
(2) ยึดมั่นในกรอบกฎหมายสากล (Base on Legal Framework) ของ FAO หรือ UNCLOS 1982 ซึ่งกฎหมายต่อต้านการประมงของสหภาพยุโรปก็ต้องอิงกับหลักกฎหมายของ FAO และ UN เช่นเดียวกัน
(3) ยึดมั่นหลักการปฏิบัติอย่างโปร่งใส (Base on Transparency) ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาต้องเปิดเผยและเป็นเอกสารที่สามารถอ้างอิงและต้องตรวจสอบได้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) กับเรื่อง IUU
(4) ยึดมั่นหลักการความร่วมมือในการแก้ปัญหา (Base on Constructive Cooperation) ซึ่งเป็นหลักการที่เป็นหัวใจของกฎหมายต่อต้านการประมงผิดกฎหมายของสหภาพยุโรป โดยการช่วยเหลือและร่วมมือกับประเทศที่ 3 เช่น ประเทศไทย ให้มีการแก้ไข ปรับปรุงด้านต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรประมงของไทยเอง
ดร.ชนินทร์ฯ กล่าวอีกว่า “ สมาคมฯ ยอมรับและเห็นด้วยกับการที่ประเทศไทยและคณะกรรมาธิการ(EU Commission) ให้ความ สำคัญต่อการปรับปรุงแหล่งทรัพยากรประมงของไทย และยินดีที่จะให้ความร่วมมือ ”
จากข้อเสนอแนะของสหภาพยุโรป ในการแก้ไขที่ยั่งยืน สิ่งที่ควรต้องปรับปรุงโดยเร็ว (Short coming) ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ดังนี้
1 กรอบกฎหมาย (Legal Framework) การออกกฎหมายลูก 65 ฉบับ ภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันออกกฎหมายลูกมาแล้ว 35 ฉบับ
2 ระบบติดตาม ควบคุมและเฝ้าระวัง (MCS, Monitoring, Control and Surveillance System) เช่น ระบบติดตามตำแหน่งเรือ (VMS, Vessel Monitoring System) ซึ่งตามหลักการ FAO IUU Fishing การติดตั้งระบบดังกล่าว เพื่อที่จะควบคุมและติดตามทำประมงของเรือประมงขนาดใหญ่ ซึ่งกำหนดให้ควบคุมเฉพาะเรือประมงที่มีขนาด 24 เมตร เป็นหลัก (หรือเรือ 30 ตันกรอสส์ ขึ้นไป เป็นหลัก)
3 การทำประมงเกินขนาด (Overfishing) หลักข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศ ในการวัดปริมาณสูงสุดของสัตว์น้ำที่จะจับมาใช้ประโยชน์ได้ (MSY: Maximum Sustainable Yields) ยกตัวอย่างเช่น กรณีเรือประมงอียูที่จับปลาทูน่าครีบเหลืองในมหาสมุทรอินเดีย จากที่เคยอยู่ระดับ Green ปัจจุบันกลายเป็นระดับ Red ซึ่งก็ต้องแก้ไขตามหลักการดังกล่าว เช่นเดียวกับประเทศไทย ก็ต้องหาค่า MSY ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
ดร.ชนินทร์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ จากหลักการข้างต้น หากรัฐบาลและสมาคมฯ ในฐานะเอกชน ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายตามหลักการดังกล่าว โดยขอให้ยึดหลักการสากลไว้เป็นจุดยืนและถือเป็นหลักปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในทุกประเทศ ”