Sustainability

สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยสนับสนุนการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน สอดคล้องตามหลักการสากล

สมาคมฯ ต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing, Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) โดยสนับสนุนการทำประมงอย่างยั่งยืน เน้นย้ำแนวทางการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมปลาทูน่าด้วยความโปร่งใส่ ปฏิบัติตามหลักการสากล — อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982, United Nations Convention on the Law of the Sea), เป้าหมายที่ 14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติ (UNSDG 14 Life Below Water, United Nations of the Sustainable Development Goals) จรรยาบรรณในการทำประมงอย่างรับผิดชอบ ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO’s Code of Conduct for Responsible Fisheries) ตลอดจนการให้ความร่วมมือกับองค์กรการจัดการประมงในระดับภูมิภาค (RFMOs, Regional Fisheries Management Organizations) เช่น คณะกรรมการจัดการการทำประมงในมหาสมุทรแปซิฟิคภาคตะวันตกและภาคกลาง (WCPFC, the Western and Central Pacific Fisheries Commission) และคณะกรรมการจัดการการทำประมงในมหาสมุทรอินเดีย (IOTC, the Indian Ocean Tuna Commission)

การปฏิบัติตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และแผนบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย (Fisheries Management Plan) และนโยบายการจัดการประมงทะเลแห่งชาติ ปี 2558 – 2562 (National Fisheries Management Plan)

“จุดยืนของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยต่อหลักการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ยึดมั่นใน 4 หลักการ ดังนี้”

 

  1. ยึดมั่นตามหลักวิชาการและข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ (Base on Scientific Data) ที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อนำมาแก้ไขการจัดการทรัพยากรทางทะเลของไทยให้ดีขึ้นตามหลักสากล
  2. ยึดมั่นในกรอบกฎหมายสากล (Base on Legal Framework) ของ UNCLOS 1982 หรือ FAO ซึ่งกฎหมายต่อต้านการประมงของสหภาพยุโรปก็ต้องอิงกับหลักกฎหมายของ UN และ FAO เช่นเดียวกัน
  3. ยึดมั่นหลักการปฏิบัติอย่างโปร่งใส (Base on Transparency) ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาต้องเปิดเผยและเป็นเอกสารที่สามารถอ้างอิงและต้องตรวจสอบได้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) กับเรื่อง IUU Fishing
  4. ยึดมั่นหลักการความร่วมมือในการแก้ปัญหา (Base on Constructive Cooperation) ซึ่งเป็นหลักการที่เป็นหัวใจของกฎหมายต่อต้านการประมงผิดกฎหมายของสหภาพยุโรป โดยการช่วยเหลือและร่วมมือกับประเทศที่ 3 เช่น ประเทศไทย ให้มีการแก้ไข ปรับปรุงด้านต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรประมงของไทยเอง