Regulation Name | พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (ฉ.6) |
Notification date | 31 August 2017 |
Enforcement date | 1 September 2017 |
Summary by TTIA
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (ฉ.6) ออกเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บังคับใช้วันที่ 1 กันยายน 2560
สาระสำคัญ พระราชบัญญัติฉบับนี้มีทั้งหมด 7 มาตรา โดยมีการปรับแก้ไขจาก พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในมาตราดังนี้ ม.87 การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ม.108 เรื่องข้อบังคับในการทำงาน ม.110 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ม.118/1 การเกษียณอายุของลูกจ้าง
โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการกําหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ําสําหรับลูกจ้างบางกลุ่ม เช่น นักเรียน นักศึกษา คนพิการ และผู้สูงอายุ และปรับเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานสำหรับกรณีที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กำหนดข้อบังคับต้องมีรายละเอียดดังนี้ (1) วันทํางาน เวลาทํางานปกติ และเวลาพัก (2) วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด (3) หลักเกณฑ์การทํางานล่วงเวลาและการทํางานในวันหยุด (4) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด (5) วันลาและหลักเกณฑ์การลา (6) วินัยและโทษทางวินัย (7) การร้องทุกข์ (8) การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ และให้นายจ้างสำเนาเก็บไว้ที่สถานประกอบการ และปิดประกาศเผยแพร่ให้ลูกจ้างได้รับทราบ โดยไม่ต้องมีการส่งส่งสําเนาข้อบังคับให้กับกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน
เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุกรณีที่ไม่ได้กำหนดกันไว้ให้ใช้เกณฑ์เกษียณอายุที่ 60 ปี และกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างเพราะกรณีการเกษียณอายุด้วย และเพิ่มบทกําหนดโทษกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ