แรงงาน

รายงานการดำเนินการของอุตสาหกรรมทูน่าไทย ในปี 2563 เพื่อต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์

ในปี 2563 ประเทศไทยได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานทาสในสินค้าประมง โดยดำเนินการต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ไทยได้รับการปลดใบเหลืองจาก สหภาพยุโรปเมื่อปี 2562 ซึ่งสหภาพยุโรปได้เห็นถึงความพยายามของประเทศไทย ทั้งเรื่องการออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ไทยยังได้ให้สัตยาบันอนุสัญญา ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง และปัจจุบันได้มีการออก พรบ.คุ้มครองแรงงานในภาคประมง พ.ศ.2562 อีกด้วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาสถานการณ์ด้านแรงงานในประเทศไทยอย่างจริงจัง และไทยได้รับการประเมินสถานการณ์การค้ามนุษย์จากสหรัฐ ในปี 2563 อยู่ในอันดับ Teir 2 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยได้ให้เหตุผลว่าไทยมีความพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดเป้าให้ไทยถูกจับอันดับใน Teir 1 ภายในปี 2564 นอกจากนี้ เป้าหมายภาครัฐที่ได้ตั้งไว้ในปี 2563 คือการถอดถอนสินค้าที่ถูกกล่าวหาจากสหรัฐ 4 ประเภทคือ อ้อย เครื่องนุ่งห่ม กุ้ง ปลา อย่างน้อยต้องถอดถอดให้ได้ 1 สินค้าในปี 2565-2566  (สินค้าปลาถูกกล่าวหาว่าใช้แรงงานบังคับ)

ในส่วนของอุตสาหกรรมทูน่านั้น ไม่มีการใช้แรงงานบังคับและแรงงานทาสในกระบวนการผลิต อีกทั้งยังมุ่งมั่นส่งเสริมให้ห่วงโซ่การผลิตดำเนินการด้านแรงงานในทิศทางที่สอดคล้องกับหลักการของสมาคมด้วย

ข้อมูลการดำเนินการต่อปัญหาการค้ามนุษย์ของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยนำเสนอ 5 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 วัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมมาจากการนำเข้า

ส่วนที่ 2 การควบคุมห่วงโซ่อุปทานของกระบวนการผลิต

ส่วนที่ 3 การนำแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี (GLP Visit / สรรหา 2563) ไปใช้ในอุตสาหกรรมทูน่าไทย

ส่วนที่ 4 การส่งเสริมหลักจริยธรรมด้านแรงงานไปถึงซับพลายเชนหลัก

ส่วนที่ 5 ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และ NGOs ด้านแรงงาน

ส่วนที่ 1 วัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมมาจากการนำเข้า อัพเดทข้อมูลตาราง

วัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมปลาทูน่าของไทย ส่วนใหญ่มาจากการนำเข้าปีละประมาณ 7 แสนตัน  โดยพบว่าในปี 2020 มีการนำเข้าสูงสุด 3 ลำดับแรก จากไต้หวัน ไมโครนีเซีย และ เกาหลีใต้ ดังตาราง

Table : Thai Imports of Frozen Whole Round Tuna from the World in 2018-2020

Source: www.moc.go.th, December 2020,  Prepared by Thai Tuna Industry Association

ส่วนที่ 2 การควบคุมห่วงโซ่อุปทานของกระบวนการผลิต

สมาคมฯ มีนโยบายและมาตรการในการควบคุมห่วงโซ่อุปทานในกระบวนการผลิตของสถานประกอบการสมาชิก เพื่อป้องกันการใช้แรงงานบังคับ แรงงานทาสในโรงงานทูน่าของสมาชิก ดังนี้

2.1 นโยบายสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยด้านจริยธรรมในการปฏิบัติต่อแรงงาน

การเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยกำหนดให้บริษัทต้องยื่นหนังสือยืนยันการประกาศเจตนารมณ์ว่า บริษัทฯ ยินดีปฏิบัติตามนโยบายด้านจริยธรรมในการปฏิบัติต่อแรงงาน (Ethical Code of Conduct) 8 ข้อ ซึ่งอ้างอิงตามกฎหมายแรงงานไทย ดังนี้

  1. ไม่ใช้แรงงานเด็ก (No Child Labour) ไม่มีคนงานอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้ามามีส่วนร่วม หรือได้รับการการจ้างงานในโรงงานแปรรูป ในการสรรหาผู้สมัคร คนงานทุกคนจะต้องแสดงหนังสือเดินทางที่ออกโดยรัฐบาล บัตรประจำตัวและ/หรือใบอนุญาตทำงานเพื่อใช้ในการตรวจสอบอายุและความถูกต้องในการทำงานตามลำดับ
  2. ไม่ใช้แรงงานบังคับ (No Forced and Compulsory Labour) ไม่เรียกร้องให้แรงงานจ่ายเงินมัดจำ หรือค่าธรรมเนียมการสมัครแก่บริษัท บริษัทจะต้องไม่ยึด เก็บหนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวและ/ หรือใบอนุญาตทำงานของคนงาน บริษัทจะต้องไม่ถือครอบครองเงินเดือนและไม่ขัดขวางสิทธิประโยชน์อื่นใดของคนงาน
  3. 3. ไม่เลือกปฏิบัติ (No Discrimination) บริษัทจะไม่อนุญาตให้แสดงพฤติกรรมที่ชี้ให้เห็นถึงการคุกคาม การเลือกปฏิบัติ หรือการข่มขู่ใด ๆ บริษัทจะต้องมีการดำเนินงานให้การศึกษาและการฝึกอบรมในเรื่องสิทธิมนุษยชนขึ้นพื้นฐานแก่บุคลากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลคนงานและการฝึกซ้อมความปลอดภัย บริษัทจะต้องมีพื้นที่กลไกในการจัดการการร้องทุกข์เพื่อให้คนงานมั่นใจว่าได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรม
  4. เสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง (Freedom of Association and Right to Collective Bargaining) ในฐานะที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายไทย บริษัทควรจะเคารพสิทธิเสรีภาพของคนงานในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรอง
  5. 5. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Health and Safety) บริษัทจะต้องให้ความกังวลและความสำคัญขั้นสูงสุดในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยทางด้านวิชาชีพของคนงาน อย่างน้อยที่สุดจะต้องปฏิบัติตามข้อเรียกร้องทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกข้อ ซึ่งรวมถึงการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตัวที่จำเป็น โดยจัดเป็นค่าใช้จ่ายของนายจ้าง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนติดตามการรักษาพยาบาล
  6. การปฏิบัติตามวินัย (Disciplinary Practices) บริษัทจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือยอมให้มีการลงโทษโดยทำร้ายร่างกาย จิตใจ หรือใช้คำพูดดูถูกเหยียดหยามคนงาน และจะต้องไม่มีการหักเงินค่าจ้างจากคนงานเมื่อทำผิดระเบียบวินัย
  7. ค่าตอบแทน (Remuneration) จะต้องมีการจ่ายค่าจ้างรายวันขั้นต่ำเต็มจำนวนแก่คนงานทุกคนตามกฎหมายไทย ในส่วนของค่าจ้างการทำงานนอกเวลาจะต้องจ่ายในอัตราพิเศษเป็นที่ยอมรับตามที่กฎหมายไทยระบุ
  8. สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ (Welfare and Benefit) คนงานและทางบริษัทจะต้องร่วมกันจ่ายประกันสังคมตามที่กฎหมายแรงงานไทยกำหนด เพื่อมั่นใจได้ว่าคนงานทุกคนมีสิทธิ์ได้รับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บริษัทจะต้องจดทะเบียนโครงการคนงานทุกคนตั้งแต่วันแรกของการจ้างงาน สำหรับช่วงที่หลักประกันสุขภาพแห่งชาติยังไม่มีผลบังคับใช้ บริษัทต้องจัดให้มีการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายที่เพียงพอเพื่อช่วยเหลือการได้รับบาดเจ็บจากการทำงานหรือการเจ็บป่วยต่างๆ

2.2 มาตรการด้านจริยธรรมต่อ Supply Chain  

สมาคมฯ มีนโยบายให้สมาชิกดูแลอุตสาหกรรมต่อเนื่องดั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้มีการปฏิบัติด้านจริยธรรมแรงงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

Chart: Supply Chain of Thai Tuna Industry Towards Ethical Standard

2.3 การกำหนดระเบียบเพิ่มเติมกับสมาชิก TTIA

ในปี 2559 สมาคมฯ ได้กำหนดระเบียบให้สมาชิก ต้องได้รับการตรวจรับรอง Dolphin Safe Program จาก Earth Island Institute (EII) และกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการรับสมัคร โดยสมาชิกต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี Good Labour Practice (GLP) เพื่อเป็นการควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานสากลและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้

  1. บริษัทฯต้องมีหนังสือยืนยันการประกาศเจตนารมณ์ในการเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (Thai Tuna Industry Association) ว่าบริษัทฯ ยินดีสนับสนุนการปฏิบัติตามนโยบายของสมาคมฯ ดังนี้

          1.1 นโยบายด้านความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)

          1.2 นโยบายด้านการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และนโยบายการทำประมงอย่างยั่งยืน (IUU Fishing Policy and Sustainability Policy)

          1.3 นโยบายด้านจริยธรรมในการปฏิบัติต่อแรงงาน (Ethical Code of Conduct)

  1. สมาชิกสามัญและวิสามัญประเภทที่มีการค้าสินค้าทูน่า จะต้องผ่านการตรวจรับรอง Dolphin Safe Program จาก EII
  1. สมาชิกสามัญต้องผ่านการตรวจ Good Manufacturing Practice (GMP) และ Hazard Analysis and Critical Control Point Critical (HACCP) จากหน่วยงานภาครัฐ หรือ องค์กรเอกชนที่ได้รับการรับรอง
  2. สมาชิกสามัญและวิสามัญประเภทโรงงานจะต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี Good Labour Practice (GLP) โดยสมาคมฯ จะมีเจ้าหน้าที่ไป GLP Visit อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  1. สมาชิกวิสามัญ ประเภทที่มีการค้าสินค้าทูน่า ต้องให้คำมั่นว่าจะต้องซื้อผลิตภัณฑ์ทูน่าจากสมาชิกสามัญของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยเท่านั้น และจะต้องแสดงเอกสารอื่นใด ที่สามารถยืนยันได้ว่าการสั่งซื้อดังกล่าว ได้จัดซื้อจากสมาชิกสามัญของสมาคมฯ จริง มอบให้แก่เจ้าหน้าที่สมาคมฯ เพื่อการตรวจสอบดูแล เมื่อเจ้าหน้าที่ร้องขอ โดยไม่ชักช้า
  2. สมาชิกสามัญและวิสามัญจะต้องปฏิบัติตามนโยบาย และมติอื่นใด ทั้งที่ได้มีอยู่และจะออกมาในภายหลัง เพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมทูน่าไทย อย่างเคร่งครัด

2.4 การดำเนินการของสมาคมฯ ต่อสมาชิกเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์

         2.4.1 สมาคมฯ จัดประชุมสมาชิก เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ติดตามสถานการณ์ด้านแรงงาน

สมาคมฯ มีการจัดประชุมกับสมาชิกทุก 2 เดือน เพื่อหารือและรายงานประเด็นปัญหาด้านแรงงาน ข้อมูลการติดตามกฎหมาย ระเบียบ ความเคลื่อนไหวด้านการประชุมแรงงานที่สำคัญจากภาครัฐ NGOs และภาคประชาสังคม การแก้ไขสถานการณ์แรงงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาชิก  ตลอดจนการรณรงค์ เชิญชวนให้สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน

ในปี 2563 สมาคมฯ ได้จัดประชุมเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการแรงงานของสมาคมฯ ขึ้น จุดประสงค์เพื่อ ให้ความเห็นสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายด้านแรงงานในงานด้านบุคคล โดยมีบทบาทหน้าที่คือ

  1. ประชุม หารือ พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางด้านแรงงานหรือกฎหมายด้านแรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
  2. พิจารณา ให้ความเห็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายของภาครัฐ หรือหน่วยงานภายนอก เช่น ประเด็นการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม หรือประเด็นการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน
  3. พิจารณาและให้ความเห็น โครงการงานวิชาการ และการจัดสัมมนาด้านแรงงาน

ภาพการประชุม TTIA HR เพื่อจัดตั้ง คกก.แรงงาน โดยได้ผู้แทนจากสมาชิกเป็น คกก.จำนวน 4 บริษัท คือ

  • บมจ.ไทยยูเนี่ยน โดยคุณศิริลักษณ์  ยังเลิศ 
  • บมจ.ยูนิคอร์ด โดยคุณวรรณา เสริมสุวรรณสุข
  • บจก.เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล โดยคุณวิจิตรา  เที่ยงธรรม
  • บจก.เซ้าท์อีสต์เอเชี่ยนแพคเกจจิ่งแอนด์ แคนนิ่ง โดยคุณวรวีย์ เอ่งฉ้วน และเป็นเลขาธิการ ในคณะกรรมการสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย TPFA)
ภาพ การประชุม TTIA HR  เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 เพื่อจัดตั้ง คกก.แรงงาน

        2.4.2 การดำเนินกิจกรรม TTIA GLP Visit

สมาคมฯ ได้ดำเนินการติดตามแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี อย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี 2556 ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ภายหลังโครงการสิ้นสุดลงเมื่อปี 2558 ทางสมาคมฯ ได้จัดกิจกรรม TTIA GLP Visit ให้กับสมาชิก ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้สมาชิกดำเนินการปฏิบัติด้านแรงงานที่ดีตามหลักการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และเป็นการติดตามผลการนำ GLP ไปใช้ ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง GLP ให้กับสมาชิกใหม่ด้วย

การจัดกิจกรรม TTIA GLP Visit

คู่มือการติดตาม GLP สมาคมฯ ได้ปรับคู่มือการติดตามผลดำเนินการ GLP กับสมาชิกโดยใช้คู่มือ Ship to Shore Rights Good Labour Practices Manual in Thailand’s Seafood Industry”

ซึ่งเป็นคู่มือฉบับใหม่ที่ได้มีการปรับแก้ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
และกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ภายใต้โครงการ Ship to Shore Rights
โดยทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป มีขั้นตอนดำเนินการ GLP Visit มีดังนี้

  • สมาคมฯ จัดกิจกรรม GLP Visit กับสมาชิกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • สมาคมฯ ใช้คู่มือ GLP Visit และใช้ผล TTIA GLP Visit จากครั้งก่อน ในการติดตามผลการปรับปรุง 
  • เข้าเยี่ยมชมโรงงาน และไลน์การผลิตของสมาชิก
  • สัมภาษณ์ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง และสุ่มตัวแทนฝ่ายลูกจ้างเพื่อเก็บข้อมูล
    การบริหารจัดการและวงจรชีวิตของลูกจ้าง เก็บข้อมูลตามหลัก GLP กฎหมายแรงงาน
    และการทำงานของคณะกรรมการสวัสดิการฯ
  • ขอเอกสาร หลักฐานเพิ่มเติม ประกอบการพิจารณา
  • จัดทำรายงานสรุปส่งถึงสมาชิกเป็นรายบริษัท และจัดทำรายงานประจำปีในภาพรวมอุตสาหกรรมสรุป
    การดำเนินกิจกรรม GLP
    นั้นจะทำให้สมาชิกตระหนักและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
    ได้รับทราบสถานการณ์และกฎระเบียบด้านแรงงานที่ต่อเนื่อง
    มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานและการพัฒนาด้านสวัสดิการให้ดีขึ้น

มีการจัดทำนโยบายและเพิ่มการสื่อสาร อบรม
ประชาสัมพันธ์ให้แรงงานข้ามชาติได้รับทราบข้อมูล สิทธิ หน้าที่ของตน
อีกทั้งทำให้สมาชิกมีการพัฒนาด้านความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างผ่านคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
โดยแรงงานข้ามชาติมีส่วนร่วม

ส่วนที่ 3 การนำแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี (ILO-GLP) ไปใช้ในอุตสาหกรรมทูน่าไทย

สมาคมฯ ได้เข้าร่วมในโครงการต่อต้านรูปแบบการทำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล (Combatting Unacceptable Forms of  Work in the Thai Fishing and Seafood Industry) หรือเรียกชื่อย่อว่า “Ship to Shore Right” ซึ่งโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงาน และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป ซึ่งสมาคมฯ ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกำกับติดตามโครงการฯ และเข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้วย ซึ่งมีการแบ่งคณะทำงานเป็น 2 ชุด ดังนี้

คณะทำงานชุดแรก ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านกฎหมาย การรับอนุสัญญา ILO C188 ว่าด้วยการทํางานในภาคการประมง ค.ศ. 2007 และ พิธีสารภายใต้อนุสัญญา P29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ

คณะทำงานชุดที่สอง ทำหน้าที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมาย การตรวจแรงงาน การอบรมเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน ซึ่งทำให้ผู้ใช้แรงงานและเครือข่ายแรงงานต่างด้าวได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคเอกชนนำแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี Good Labour Practice (GLP) ไปใช้

โดยระยะเวลาโครงการนั้น เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2561 – 30 ธันวาคม 2562 ซึ่งปัจจุบันโครงการได้สิ้นสุดไปแล้ว โดยได้มีการประชุมปิดโครงการไปเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา

การดำเนินการที่สำคัญของสมาคมในการปรับแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี มีดังนี้

  • การพัฒนาคู่มือ GLP และแบบฟอร์มการติดตามให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย ร่วมกับกระทรวงแรงงาน
  • การสรรหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการติดตาม GLP ในสถานประกอบการ และเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ และจัดทำรายงานประจำปีในภาพรวมของอุตสาหกรรม
  • ปรับขั้นตอนการติดตามผล ขั้นตอนการดำเนินการ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • การผลักดันกลไกคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ โดยให้แรงงานข้ามชาติมีส่วนร่วม
  • การจัดอบรม GLP ให้กับสถานประกอบการ โดยเชิญผู้ซื้อเข้ามาร่วมด้วย
  • การจัดอบรมคู่มือ GLP ฉบับใหม่ให้สถานประกอบการ 2 ครั้ง ในจังหวัดสงขลา และสมุทรสาคร
  • การจัดตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นเป็นคณะกรรมการไตรภาคี (ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม) เพื่อกำกับแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่ดีเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินการ
  • การใช้กลไกการรับข้อร้องเรียน และแนวทางขั้นตอนการเยียวยา
  • การประเมินผลการดำเนินโครงการ GLP กับสมาชิก
  • การนำ GLP ไปใช้ติดตามกับห่วงโซ่อุปทาน   
  • การจัดประชุมร่วมกับภาคประชาสังคม
  • การประชาสัมพันธ์การดำเนินการโครงการในรูปแบบต่างๆ เช่น นำเสนอเป็นคลิป VDO
ในปี 2563 สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้จัดทำรายรายการดำเนินการ GLP Annual Report 2562 ขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์สมาคม และส่งผลงานการดำเนินการให้กับ ILO
ภาพ VDO ประชาสัมพันธ์ GLP (https://www.youtube.com/watch?v=YZ_6eM294Ww)
ภาพ รายงาน GLP ภายใต้โครงการ Ship to Shore Rights
( https://www.thaituna.org/home/download/activity/GLP%20Annual%20Report%202019%20final%2012062020_TH.pdf )

การประชุมโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง Ship to Shore Rights ครั้งสุดท้าย

การประชุมได้มีการรายงานการศึกษาข้อค้นพบสำหรับอุตสาหกรรมประมงประเทศไทย Endline Research โดยบริษัท Rapid Asia และรายงานถึงผลสำเร็จที่ประเทศไทยรับพิธีสาร P 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ และการรับอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานประมงทะเลหรือ C 188 ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกในเอเชีย และหลังจากนั้นได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดรับกับอนุสัญญาและพิธีสารทั้ง 2 ฉบับอย่างรวดเร็ว และการนำ GLP ไปปรับใช้ในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะล จากเรื่องนี้โครงการได้รับกระแสตอบรับว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างสูงจาก Buyer จึงได้มีการสนับสนุนทุนจาก EU ให้มี Phase 2 ต่อไป ซึ่งจะเน้นขยายผลไปสู่ระดับภูมิภาคโดยใช้ประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้วเป็นต้นแบบ

ภาพ การประชุมโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง Ship to Shore Rights ครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563

การเก็บข้อมูลด้านการสรรหาแรงงานข้ามชาติ และมาตรการป้องกันโควิด-19 ของสมาชิกพร้อมกับการทำ GLP Visit 2020

ปี 2563 ILO ได้ออกแบบคู่มือการสรรหาแรงงานข้ามชาติขึ้น รายละเอียดตามเว็บลิงค์
( https://www.ilo.org/global/topics/labour-migration/publications/WCMS_536755/lang–en/index.htm ) ซึ่งสมาคมฯ เห็นว่าในอุตสาหกรรมมีการใช้แรงงานข้ามชาติจำนวนมาก และประเด็นการสรรหาแรงงานเริ่มมีความสำคัญทำให้สมาคม ได้ออกแบบ Checklist การสรรหาแรงงานขึ้นโดยได้รับคำปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการกับองค์การเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ( IOM ) เพื่อนำ Checklist ไปเก็บข้อมูลกับสมาชิก โดยอย่างน้อยการสรรหาแรงงานของสมาชิกจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายไทย และนโยบายสมาคมคือสมาชิกจะต้องใช้แรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมายทั้งหมด

ขณะเดียวกัน สมาคมฯ เห็นถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จึงได้เก็บข้อมูลมาตรการป้องกันโควิด-19 จากสมาชิก ที่ได้ทำตาม Checklist ของกรมประมงด้วย

ในปี 2563 สมาคมฯ ได้ทำ GLP Visit โดยใช้คู่มือฉบับใหม่กับสมาชิกจำนวน 26 โรงงาน จาก 27 บริษัท (อีก 1 บริษัทไมได้ผลิตทูน่าแล้ว) เก็บข้อมูลในช่วงเดือน กันยายน -พฤศจิกายน 2563

ผลการดำเนินกิจกรรม GLP Visit 2020 ในภาพรวม พบว่ามีสมาชิกสามัญที่สามารถปฏิบัติตามคู่มือ GLP ได้มีจำนวน 24 บริษัท จาก 26 บริษัท หรือ 88 %  อีก 3 บริษัท หรือ 12% พบปัญหาไม่มีคณะกรรมการสวัสดิการที่มาจากการเลือกตั้ง, ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนระเบียบในการลาคลอดตามกฎหมายใหม่, การสอบถามการตั้งครรภ์ก่อนรับเข้าทำงาน ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการแก้ไขในทันที และประเด็นอื่น ๆ ที่พบบริษัทที่จากการไปเก็บข้อมูล GLP Visit เช่น พบการใช้บัตรห้องน้ำในไลน์ผลิต (บริษัทดำเนินการแก้ไขทันที) พบเอกสารใบประกอบวิชาชีพพยาบาลหมดอายุ, บอร์ดประชาสัมพันธ์มีการปรับข้อมูลให้ทันสมัยไม่ครบทุกจุดในโรงงาน, payslip ไม่มีแปลเป็นภาษาที่แรงงานเข้าใจ, ไม่ได้สำเนาสัญญาจ้างให้แรงงานเก็บไว้

ผลการเก็บข้อมูลด้านการสรรหาแรงงาน ทุกบริษัทมีการสรรหาแรงงานข้ามชาติปฏิบัติได้ตามหลักกฎหมายไทย ปัจจุบันหลายบริษัทพยายามรักษาพนักงานเดิมเอาไว้เพื่อลดการนำเข้าแรงงานใหม่, คนไทยเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมทูน่ามากขึ้นเพราะน่าจะเกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ทำให้เกิดปัญหา Turn Over พนักงานสูงขึ้นเช่นกัน, บางบริษัทมีการนำเข้าแรงงานโดยการทำงานร่วมกับ NGOS เช่น อิสรา MWRN, หลายบริษัทเริ่มปรับตัวไม่นำเข้าแรงงานเพิ่มเติมใช้แรงงานเดิมให้นานขึ้น เพื่อลดกระบวนการ Recruitment

ภาพการเก็บข้อมูล GLP Visit สรรหา มาตรการป้องกันโควิด-19 ปี 2563

ภาพประกอบ  ภาพด้านซ้าย : การเข้าทำ GLP Visit สรรหา 2020 ที่โรงงานสมาชิก จ.สงขลา เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563
                      ภาพกลาง : การเข้าทำ GLP Visit สรรหา 2020  ที่โรงงานสมาชิก จ.สมุทรสาคร  เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563
                           ภาพด้านขวา : การเข้าทำ GLP Visit สรรหา 2020   ที่โรงงานสมาชิก จ.สุพรรณบุรี  เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563

ส่วนที่ 4 การส่งเสริมหลักจริยธรรมด้านแรงงานไปถึงซับพลายเชนหลัก

การดำเนินการ GLP Visit ซับพลายเชน ในปี 2563 สมาคมฯ ได้จัดประชุมออนไลน์ เชิญซับพลายเชนหลักในอุตสาหกรรมทูน่า จำนวน 7 บริษัท เข้าร่วมเพื่อให้เข้าใจแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี GLP และการสรรหาแรงงานด้วย ซึ่งครอบคลุมทั้งกิจการ บรรจุภัณฑ์ ฉลาก และน้ำมันพืช เพื่อให้ตระหนักและนำหลักการจริยธรรมด้านแรงงานไปปฏิบัติอย่างยั่งยืน เพื่อให้สมาคมฯ สามารถดำเนินการจัดกิจกรรม GLP Visit และสรรหาแรงงานและมาตรการป้องกัน Covid-19 ด้วย โดยกิจกรรมเก็บข้อมูลกับซับพลายเชนจะเริ่มช่วงกลางเดือน พฤศจิกายน- ธันวาคม 2563

ภาพ การประชุมออนไลน์สมาคม กับ บ.ซับพลายเชนหลัก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563

ผลการดำเนินการ GLP Visit สรรหา มาตรการป้องกันโควิด-19 กับบริษัทวิสามัญ 5 บริษัท และซับพลายเชนหลักอีก 2 บริษัท พบว่า

  1. พบข้อบกพร่องเล็กน้อยจากหลักการ GLP เช่น บอร์ดประชาสัมพันธ์ มีการอัพเดทไม่ครอบคลุมเนื่องจากมีหลายจุดทำให้บางจุดอาจจะพลาดในการอัพเดท / ไม่ได้สำเนาสัญญาจ้างให้แรงงานเก็บ / แรงงานหลายคนยังไม่ทราบหน้าที่คณะกรรมการสวัสดิการ
  2. ข้อบกพร่องในเชิง GLP และข้อกฎหมาย   ไม่พบประเด็น
  3. สิ่งที่พบจากการเก็บข้อมูลด้านสรรหาแรงงาน ได้แก่ บริษัทใช้แรงงานท้องถิ่นใกล้โรงงานเป็นหลัก / มีใช้แรงงานข้ามชาติในไลน์ผลิตบ้างเป็นส่วนน้อยไม่ถึง 100 คน / บริษัทที่ใช้แรงงานข้ามชาติ มีสำรองออกค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้กับแรงงานก่อน โดยให้แรงงานผ่อนชำระคืนในภายหลัง / บริษัทส่วนใหญ่ไม่ใช้แรงงานข้ามชาติ เนื่องจากปัญหาด้านการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่าย และภาษาในการสื่อสาร

ภาพการเก็บข้อมูล GLP Visit สรรหา มาตรการป้องกันโควิด-19 ปี 2563 กับ 7 บริษัทซับพลายเชน

ภาพประกอบ  ภาพด้านซ้าย : การเข้าทำ GLP Visit สรรหา 2020 ที่โรงงานสมาชิก จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563
                        ภาพกลาง :    การเข้าทำ GLP Visit สรรหา 2020  ที่โรงงานสมาชิก จ.นครปฐม  เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563
                          ภาพด้านขวา : การเข้าทำ GLP Visit สรรหา 2020   ที่โรงงานสมาชิก จ.ฉะเชิงเทรา  เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563

การกำหนดหลัก TTIA Guideline แนวทางการตรวจแรงงานบนเรือประมง ให้กับผู้นำเข้าวัตถุดิบ

ปี 2562 ประเทศไทยได้รับอนุสัญญา C188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง และหลังจากนั้นประเทศไทยได้ออกกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ.2562

จากการรับอนุสัญญาและออกกฎหมายของประเทศไทยทำให้อุตสาหกรรมทูน่าซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงเห็นความสำคัญต่อประเด็นการใช้แรงงานประมง จึงได้มีศึกษารายละเอียดของ C188 ในหลักการพื้นฐาน และกฎหมาย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ.2562 เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติของสมาคมฯ ด้านการใช้แรงงานบนเรือ จากนั้น สมาคมฯ นำไปหารือกับเทรดเดอร์ผู้นำเข้าวัตถุดิบเพื่อแนะนำให้นำไปปฏิบัติตาม 

โดยสมาคมฯ ได้กำหนดหัวข้อ ร่าง TTIA แนวทางการตรวจแรงงานบนเรือประมง ขึ้นและนำหลักการการจัดทำ Guideline เข้าหารือขอความเห็นจาก กระทรวงแรงงานหารือกับกลุ่มงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุ้มครองแรงงาน และ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และคณะกรรมการแรงงาน TTIA ซึ่งต่อมาได้รับความเห็นชอบร่าง และได้นำเผยแพร่บนเว็บไซต์สมาคมฯ ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางด้านล่าง

TTIA แนวทางการตรวจแรงงานบนเรือประมง

No.

หัวข้อ

อธิบายหลักการ Guideline

1

ไม่ใช้แรงงานเด็ก

แรงงานบนเรือประมงควรกำหนดอายุขั้นต่ำในการทำงานที่สอดคล้องกับกฎหมายรัฐเจ้าของธงเรือและควรตรวจสอบอายุจากเอกสารประจำตัวของแรงงานเพื่อให้แน่ใจว่าอายุอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถทำงานได้

2

ไม่มีการใช้แรงงานบังคับ

ไม่ใช้แรงงานบังคับ ไม่มีการกระทำที่ทำให้เกิดลักษณะ เช่น การข่มขืนใจให้ทำงานด้วยการทำให้กลัวอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สิน ใช้กำลังประทุษร้าย รวมถึงการยึดเอกสารสำคัญประจำตัว หรือนำภาระหนี้มาผูกมัด หรือ หลอกลวง จำกัดเสรีภาพการเดินทาง ใช้ความรุนแรงต่อร่างกายหรือทางเพศ การไม่จ่ายค่าจ้าง ให้ทำงานหรือดำรงชีพในสภาพที่เลวร้าย มีชั่วโมงการทำงานสอดคล้องตามกฎหมายแต่ละประเทศ

3

ไม่มีการค้ามนุษย์

ไม่มีพฤติกรรมจากบุคคลหรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เช่น การจัดหา ซื้อ ขาย กักขัง บุคคล โดยข่มขู่ ใช้กำลัง ลักพาตัว หลอกลวง หรือขู่ว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบ เพื่อให้ยินยอมกระทำผิด หรือการหาผลประโยชน์จากบุคคล หรือเอาคนลงเป็นทาส นำคนมาขอทาน

4

มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

แรงงานทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและไม่มีใครถูกทารุณกรรมการข่มขู่การข่มขู่หรือการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม ไม่มีการเลือกปฏิบัติในเรื่อง วรรณะ, ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ, ศาสนา, อายุ, ความพิการ, เพศ, สถานภาพการสมรส, รสนิยมทางเพศ, สมาชิกสหภาพแรงงาน, ความสัมพันธ์ / ความเชื่อทางการเมือง, การตั้งครรภ์สุขภาพหรือความพิการ และไม่มีการกระทำที่เป็นการล่วงละเมิดทางร่างกายทางวาจาหรือทางจิตใจหรือการล่วงละเมิดทางจิตใจการข่มขู่รูปแบบอื่น

5

เสรีภาพในการสมาคมและเจรจาต่อรอง

แรงงานทุกคนมีอิสระในการใช้สิทธิจัดตั้งและ / หรือเข้าร่วมสหภาพและต่อรองร่วมกันหากกฎหมายอนุญาต ลูกเรือมีสิทธิ์ในการใช้การต่อรองแบบรวมกลุ่ม

6

มีการจัดหาแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย

มีหลักการที่เหมาะสมในการจัดหาแรงงานเพื่อมาทำงานบนเรือประมงในรูปแบบที่ยอมรับได้ แรงงานควรมาจากช่องทางที่ถูกต้อง และการทำงานบนเรือประมงควรมีหนังสือสำคัญประจำตัวของคนประจำเรือ

7

มีใบรับรองเรือผ่านการตรวจสอบความเป็นอยู่และสภาพการทำงาน

8

มีสัญญาจ้าง

การใช้แรงงานบนเรือประมงนั้น นายจ้างและลูกจ้างควรกำหนดให้มีสัญญาจ้างในภาษาที่แรงงานสามารถเข้าใจซึ่งอาจเป็นภาษาสัญชาติของแรงงาน และควรมีรายละเอียดสำคัญ เช่น ชื่อนายจ้าง ลูกจ้าง วันเริ่มต้นจ้างงาน การจ่ายค่าจ้าง สวัสดิการ หน้าที่ของลูกจ้าง ซึ่งควรจัดทำเป็น 2 ฉบับ นายจ้างและลูกจ้างเก็บคนละฉบับเพื่อใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่อการปฏิบัติตามสัญญาของทั้งสองฝ่าย และควรจัดทำทะเบียนลูกจ้างเก็บไว้ ณ สถานที่ทำงานด้วย

9

การจ่ายค่าจ้าง

มีการจ่ายค่าจ้างให้กับแรงงานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง และจ่ายค่าจ้างตรงตามกำหนดเวลาและสถานที่ตามที่ตกลงกันไว้ให้กับแรงงานอย่างสม่ำเสมอและมีหลักฐานเพื่อแสดงการจ่ายเงิน

10

มีการตรวจสุขภาพและมีสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพและสวัสดิการ

มีการจัดให้มีการตรวจสุขภาพแรงงานเพื่อให้แน่ใจได้ว่าแรงงานมีสุขภาพที่ดีพร้อมทำงาน และมีใบรับรองแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าแรงงานมีสุขภาพดีพร้อมทำงานและต้องจัดหาสวัสดิการด้านสุขภาพที่เหมาะสมให้กับแรงงาน เช่น ประกันสุขภาพ

11

มีชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม วันหยุด วันลา

มีกำหนดชั่วโมงการทำงานและการพักผ่อนอย่างเหมาะสม รวมถึงมีการกำหนดสิทธิการลาประเภทต่างๆ ตามกฎหมายแต่ละประเทศเจ้าของเรือธง

12

มีกระบวนรับข้อร้องทุกข์ที่เป็นธรรม

มีวิธีการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในเรื่องการสิ้นสุดของสัญญา การร้องทุกข์ และการลงโทษทางวินัยที่จะดำเนินการอย่างเป็นธรรมและเป็นความลับ มีการจัดการกับเหตุการณ์ โดยไม่กระทบต่อสมาชิกลูกเรือมีกลไกการรายงานต่อบุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้บังคับบัญชาโดยตรงของพวกเขา มีวิธีการติดตามการร้องทุกข์ มีระบบการอุทธรณ์สำหรับการร้องเรียนที่ได้รับการแก้ไขและการลงโทษทางวินัย

13

การดำเนินการด้าน สิ่งแวดล้อม

เรือประมงจะต้องมีความรับผิดชอบต่อระบบนิเวศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล

14

มีการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง ตรวจสอบย้อนกลับได้

มีการดำเนินธุรกิจด้วยความสุจริต มีระบบและขั้นตอนการจัดการที่จำเป็นและมีการปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับและอนุสัญญาที่เหมาะสม เรือมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมถึงไม่มีการทุจริตและการติดสินบน

ภาพประกอบ : การจัดประชุม TTIA ร่วมกับ Trader และ Ship Agent  วันที่ 27 สิงหาคม และ 30 กันยายน 2563 

ผลจากการประชุม ผู้แทน Trader และ Ship Agent จะนำหลัก TTIA Guideline ไปปฏิบัติ ซึ่ง Trader หลายแห่งให้ข้อมูลว่าได้มีการปฏิบัติสอดคล้องตามหลักการ Guideline อยู่ก่อนแล้ว

ส่วนที่ 5 ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และ NGOs ด้านแรงงาน

5.1 การดำเนินการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ร่วมกับภาครัฐ

ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ระหว่างสมาคมฯ กับภาครัฐ  สมาคมฯ ให้ความร่วมมือด้านแรงงานกับภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้ง โดยสมาคมเอง และผ่านทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย  หน่วยงานภาครัฐสำคัญมี 8 กระทรวง คือ กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรม โดยการเข้าร่วมประชุมให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นและปัญหาด้านแรงงาน อาทิ เช่น

TTIA ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการวิเคราะห์สภาพงานอันตรายสำหรับเด็กในประเทศไทยเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก ณ รร.มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น จัดโดย กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน วันที่ 24 มกราคม 2563

ภาพประกอบ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์สภาพงานอันตรายสำหรับเด็กในประเทศไทยเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก วันที่ 24 มกราคม 2563

TTIA ร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมการและงานขายของหน้าร้าน ณ ห้องประชุมเทียน อัชกุล ชั้น 10 กระทรวงแรงงาน วันที่ 20 พฤษภาคม 2563  จัดโดยกรมการจัดหางาน

ภาพประกอบ การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมการและงานขายของหน้าร้าน ณ ห้องประชุมเทียน อัชกุล ชั้น 10 กระทรวงแรงงาน วันที่ 20 พฤษภาคม 2563

– TTIA ร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ…… ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(ส่วนแยกตลิ่งชัน) วันที่ 17 กันยายน 2563 จัดโดยกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน

ภาพประกอบ การร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ…… ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(ส่วนแยกตลิ่งชัน) วันที่ 17 กันยายน 2563

– TTIA ร่วมหารือกับผู้แทนจากกระทรวงแรงงาน คุณพิระ โชคบุญเจริญ ผอ.กลุ่มงานหญิงและเด็ก และเครือข่ายคุ้มครองแรงงาน การตั้งบอร์ดชาติเพื่อถอดถอนสินค้าที่ถูกสหรัฐกล่าวหา วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563

ภาพประกอบ TTIA ร่วมหารือกับผู้แทนจากกระทรวงแรงงาน คุณพิระ โชคบุญเจริญ ผอ.กลุ่มงานหญิงและเด็ก และเครือข่ายคุ้มครองแรงงานการตั้งบอร์ดชาติเพื่อถอดถอนสินค้าที่ถูกสหรัฐกล่าวหา วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563

– TTIA ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหา การใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ ในกลุ่มสินค้าประเภทกุ้ง ปลา อ้อย และเครื่องนุ่งห่ม ครั้งที่ 1/2563 จัดที่ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 จัดโดยกระทรวงแรงงาน

ภาพประกอบ ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหา การใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ ในกลุ่มสินค้าประเภทกุ้ง ปลา อ้อย และเครื่องนุ่งห่ม ครั้งที่ 1/2563 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563

– TTIA ร่วมสัมมนา ผ่าน VDO Conference ในหัวข้อ นิยามที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานประมงในทางกฎหมาย บรรยายโดย คุณณรงค์ฤทธิ์ วรรณโส รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน วันที่ 26 -27 พฤษภาคม 2563 จัดโดยกระทรวงแรงงาน

ภาพประกอบ ร่วมสัมมนา ผ่าน VDO Conference ในหัวข้อ นิยามที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานประมงในทางกฎหมายกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน วันที่ 26 -27 พฤษภาคม 2563

– TTIA ร่วมอบรมโครงการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย มรท.8001-2563 ผ่านประชุมออนไลน์ CatConferrence จัดโดยสำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน วันที่ 23 มิถุนายน 2563

ภาพประกอบ ร่วมอบรมโครงการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย มรท.8001-2563 ผ่านประชุมออนไลน์ CatConferrenceจัดโดยสำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน วันที่ 23 มิถุนายน 2563

5.2 ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ

สมาคมได้มีความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกใช้แรงงานอย่างนำหลักการการจัดหาแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นธรรมตามหลักสากลไปพัฒนาต่อในสถานประกอบการของสมาชิก โดยมีความร่วมมือและการหารือ ดังนี้

-TTIA เข้าร่วมประชุมออนไลน์ Seaforum for Fisher Working group 3 เรื่อง Harmonizing labour standards in the fishing and seafood industry in SEA และประชุม Seaforum for Fisher Working group 4 เรื่อง Fair recruitment of migrant fishers in and from SEA วันที่ 22 -23 มกราคม 2563

ภาพ การประชุมโครงการ Sea Forum for Fishers วันที่ 22-23 มกราคม 2563

– TTIA ร่วมประชุมออนไลน์ โครงการ Sea Forum for Fishers ในประเด็นเรื่อง การต่อต้านการค้ามนุษย์ และแรงงานบังคับของแรงงานประมง ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 วันที่ 21 พฤษภาคม 2563

ภาพประกอบ ร่วมประชุมออนไลน์ โครงการ Sea Forum for Fishers ในประเด็นเรื่อง การต่อต้านการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับของแรงงานประมง

– TTIA เข้าร่วมประชุมประเมินโครงการ Sea Forum For Fishers ผ่าน VDO Conference โดยมี ดร.Eric Oldsman เป็นผู้ประเมินโครงการ วันที่ 8 กรกฎาคม 2563

ภาพประกอบ ร่วมประชุมประเมินโครงการ Sea Forum For Fishers ผ่าน VDO Conferrence
โดยมี ดร.Eric Oldsman เป็นผู้ประเมินโครงการ

– TTIA เข้าร่วมเสวนา ในหัวข้อ Covid-19 and The role of the board จัดโดย Pipso และ ILO Private Sector  วันที่ 20 สิงหาคม 2563

ภาพประกอบ ร่วมเสวนา ในหัวข้อ Covid-19 and The role of the board จัดโดย Pipso และ ILO Private Sector

– TTIA เข้าร่วมคณะกรรมการขับเคลื่อนการว่าจ้างแรงงานข้ามชาติระหว่างภาครัฐกับเอกชน และคุณวรรณชนก จนท.อาหารสัตว์เลี้ยง ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการว่าจ้างแรงงานข้ามชาติระหว่างภาครัฐกับเอกชน  ครั้งที่ 2/2563 วันที่ 18 กันยายน 2563

ภาพประกอบ ร่วมประชุม TTIA เข้าร่วมคณะกรรมการขับเคลื่อนการว่าจ้างแรงงานข้ามชาติระหว่างภาครัฐกับเอกชน  ครั้งที่ 2/2563

– TTIA ให้สัมภาษณ์กับคุณอาร์โนลด์ เดอ นาดายัค ผู้ประเมินโครงการ PROMISE ของ IOM ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาทักษะแรงงานข้ามชาติ ให้ความรู้เรื่องการสรรหาแรงงาน  วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563

ภาพประกอบ TTIA ให้สัมภาษณ์กับคุณอาร์โนลด์ เดอ นาดายัค ผู้ประเมินโครงการ PROMISE ของ IOM

5.3 การดำเนินการร่วมกันกับองค์กรไม่แสวงหากำไร

สมาคมฯ ได้ทำงานร่วมกับกลุ่ม NGOs ซึ่งมีส่วนในการทำให้อุตสาหกรรมเกิดการพัฒนาด้านจริยธรรมต่อแรงงาน เช่น การรับข้อร้องเรียน ปัญหาต่างๆ หรือข้อแนะนำที่ได้รับ มาปรับปรุง การประชุมหารือแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน โดยมีความร่วมมือในปี 2563 ดังนี้      

– TTIA ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning and Sharing Session) ในหัวข้อ “เป็นธรรมแค่ไหน แค่ไหนเรียกเป็นธรรม: สรรหาแรงงานข้ามชาติอย่างไรถึงเป็นธรรม?” ภายใต้โครงการ Fair Fish ทุนจาก USDOL จัดโดย องค์การ PLAN International Thailand วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563

ภาพประกอบ ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning and Sharing Session) ในหัวข้อ “เป็นธรรมแค่ไหน แค่ไหนเรียกเป็นธรรม: สรรหาแรงงานข้ามชาติอย่างไรถึงเป็นธรรม?”

TTIA ได้หารือกับ Mr.Andy Hall ที่ TTIA ในประเด็นเรื่องหลักการสรรหาแรงงานอย่างเป็นธรรม วันที่ 2 มีนาคม 2563

ภาพประกอบ TTIA หารือกับ Mr.Andy Hall ที่ TTIA ในประเด็นเรื่องหลักการสรรหาแรงงานอย่างเป็นธรรม

TTIA ได้หารือกับ คุณ MI ZHOU จนท. ILO จากจาการต้า ถึงเรื่อง การเริ่มโครงการ Ship to Shore Rights Phase 2 วันที่ 3 มีนาคม 2563

ภาพประกอบ TTIA ได้หารือกับ คุณ MI ZHOU จนท. ILO จากจาการต้า ถึงเรื่อง การเริ่มโครงการ Ship to Shore Rights Phase 2

-TTIA และสมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning and Sharing Session) ในหัวข้อ “ร่วมมือ ร่วมพลัง สร้างการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบ” ภายใต้โครงการ Fair Fish ทุนจาก USDOL จัดโดย องค์การ PLAN International Thailand วันที่ 2 เมษายน 2563

ภาพประกอบ TTIA และสมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning and Sharing Session) ในหัวข้อ “ร่วมมือ ร่วมพลัง สร้างการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบ” ภายใต้โครงการ Fair Fish ทุนจาก USDOL จัดโดย องค์การ PLAN International Thailand

-TTIA หารือ กับ ผู้แทนจาก บ.Mar Petcare (คุณสุภาวดี โชติกญาณ) เพื่อขอรับทราบรายละเอียดของการจัดตั้งสมาคมฯ TPFA และการดำเนินการด้านแรงงานที่ TTIA วันที่ 8 พฤษภาคม 2563

ภาพประกอบ TTIA หารือ กับ ผู้แทนจาก บ.Mar Petcare

– TTIA ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “การประเมินความเสี่ยงเรื่องการบังคับใช้แรงงาน” ผ่าน App Zoom Conference จัดโดย PLAN International Thailand ภายใต้โครงการ Fair Fish วันที่ 4 มิถุนายน 2563

ภาพประกอบ ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “การประเมินความเสี่ยงเรื่องการบังคับใช้แรงงาน”
ผ่าน App Zoom Conference จัดโดย PLAN International Thailand

–  TTIA ร่วมประชุมเวทีเสวนาเรื่อง ทิศทางการบริหารจัดการการจ้างแรงงานข้ามชาติและการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในกิจการอาหารทะเลและประมงทะเล และการจัดการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ณ รร.เรดิสันบลู จัดโดย Migrant Working Group วันที่ 31 สิงหาคม 2563

ภาพประกอบ TTIA ร่วมประชุมเวทีเสวนาเรื่อง ทิศทางการบริหารจัดการการจ้างแรงงานข้ามชาติและการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในกิจการอาหารทะเลและประมงทะเล และการจัดการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ณ รร.เรดิสันบลู จัดโดย Migrant Working Group

– TTIA ร่วมหารือกับ MWRN เรื่องการจัดคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ ณ ห้องประชุม TFFA เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563

ภาพประกอบ TTIA ร่วมหารือกับ MWRN เรื่องการจัดคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ ณ ห้องประชุม TFFA