Follow Us :
02-258-0317-8

TTIA ร่วมเสวนาในงาน Brussels Seafood Expo 2019

วันที่ 7- 9 พฤษภาคม 2562 ณ ประเทศเบลเยี่ยม

ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และนายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย คุณอรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ ที่ปรึกษาสมาคม และคุณสุพัตรา ริ้วไพโรจน์ ผู้อำนวยการสมาคม ได้เข้าร่วมงาน Brussels Seafood Expo Global 2019 งานแสดงสินค้าอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-9 พฤษภาคม 2562 ณ กรุงบรัสเซลล์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม โดยมีผู้เข้าร่วมจัดแสดงสินค้ากว่า 1,940 บริษัท จาก 78 ประเทศทั่วโลก

ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 ได้ร่วมกับรัฐบาลไทยนำโดย ดร.อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ให้การต้อนรับนายคาเมนู เวล่า รัฐมนตรีกิจการมหาสมุทร สหภาพยุโรป EU Commission Karmenu Vella ที่มาเยี่ยมคูหาประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และพูดคุยเกี่ยวกับการทำงานของประเทศไทยภายหลังปลดใบเหลือง

และเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าว “E-Catch” รูปแบบใหม่ของ EU ที่จะช่วยทำให้การเก็บข้อมูลและทวนสอบย้อนกลับง่ายขึ้น ณ คูหาของ EU

European Commission launches new tool to strengthen EU’s fight against illegal, unreported and unregulated fishery, 07/05/2019 (EU Press Release/ VDO clip)

In the continued efforts to fight illegal, unreported and unregulated fishery (IUU) globally, Karmenu Vella, Commissioner for Environment, Maritime Affairs and Fisheries, will launch the EU’s first IT tool, called “CATCH”, conceived to streamline the checks of seafood products entering the EU market.

7 พฤษภาคม 2562 ช่วงบ่าย 15.30 น. ภาครัฐได้จัดสัมมนาเรื่อง Thailand’s Sustainability of Fisheries Industry” โดยนายมนัสวี ศรีโสดาพล เอกอัครราชทูต และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป กล่าวเปิด แจ้งว่าปี 2019 ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนจะมีการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อปรับปรุง PSM ท่าเรือ ชายฝั่ง เรือจับปลา เพื่อการทำประมงอย่างยั่งยืน ปรับปรุงระบบตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่สินค้าประมง การแก้ปัญหาโดยใช้ Digital Catch Certificate และทวนสอบข้อมูล เป็นต้น  จากนั้น ทาง ดร.อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ดำเนินการเสวนา โดยผู้แทนจากงาน FIP Fishery Improvement Project นำเสนองานปรับปรุงการทำประมงอย่างยั่งยืน (multi species) เรืออวนลากฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของสมาคมด้านประมง, สมาคมประมงพื้นบ้านเสนองาน Blue Brand Standard การทำประมง (wild caught) ด้วยความรับผิดชอบถูกกฎหมาย ผลิตสินค้าปลอดภัย และใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม, TTIA โดย ดร.ชนินทร์ นายกสมาคม นำเสนอเรื่อง Tuna; Sustainability and Human Right Protection (TTIA ppt / VDO clip) และผู้แทนจาก Seafood Task Force เสนองานที่ทำร่วมกับกรมประมงด้าน FIP และ IUU ซึ่งในช่วงท้ายอธิบดีกรมประมงกล่าวว่าต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย.

8 พฤษภาคม 2562 หน่วยงาน EJF Environmental Justice Foundation จัดสัมมนาเรื่อง “The Role of Policy and Company in Combatting IUU Fishing and Benefits for the Fisheries Industry” ณ Hall 11 room 1124  สนันสนุนโดย EU IUU Coalition (Oceana, WWF and the Pew Charitable Trusts) โดยมีผู้ร่วมรับฟังจากรัฐบาลญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ไทย บริษัทและสมาคมที่เกี่ยวข้องกับด้านประมง และ NGOs ทาง TTIA คุณอรรถพันธ์ฯ ที่ปรึกษา และคุณสุพัตรา ผู้อำนวยการฯ โดยอธิบดีกรมประมงร่วมเสวนากล่าวว่า รัฐบาลไทยมีการทำงานร่วมกับ NGOs และชาวประมงมากขึ้น ต้องคุยกับผู้ส่งออกไม่ซื้อปลา IUU และแสดงความเห็นเกี่ยวกับปริมาณงานที่มากของประเทศที่ทำหน้าที่ PSM Port State Measure เช่น ประเทศไทยต้องไปทวนสอบข้อมูลของประเทศอื่นที่ไทยนำเข้าปลาด้วย ซึ่งบางครั้งปลาเข้ามาแล้ว จึงจะทราบว่า shipment นี้จะผลิตเพื่อส่งไปสหภาพยุโรป ดังนั้น จะมีวิธีการอย่างไรให้มี common template ร่วมกัน หากทุกประเทศมี EU Catch Certificate ทั้งหมดก็ทำให้เกิดความมั่นใจว่าเป็น Non IUU Fish แต่ในทางปฏิบัติก็ดูซับซ้อน   ทาง METRO แสดงความเห็นว่าต้องมีการสื่อสารตลอด supply chain จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย อธิบายประโยชน์ของการต่อต้าน IUU และจะทำให้ยั่งยืนได้อย่างไร ซึ่งจะช่วยทำให้ราคาสินค้า commodity เป็นปกติ บริษัทมีการทำ CSR และดูแลแหล่งวัตถุดิบ sustainable sources ในตอนท้ายได้ขอบคุณ NGOs และ EU Commission ในการเข้ามาจัดการเรื่องนี้

ในช่วงค่ำ คุณอรรถพันธ์ ที่ปรึกษา และคุณสุพัตรา ผู้อำนวยการ เป็นผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองคณะผู้แทนไทย โดยคุณมนัสวี ศรีโสดาพล เอกอัครราชทูต และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป กล่าวต้อนรับ