TTIA เข้าร่วมงาน Asia-Pacific Forum on Sustainable Development 2019
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2562 สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ได้เข้าร่วมงาน Asia-Pacific Forum on Sustainable Development 2019 ในหัวข้อ “Decent Work, inclusiveness and equality for migrant workers in South East Asia จัดโดย สหภาพยุโรป(EU), กระทรวงแรงงาน, องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ(UN WOMEN ) ณ ห้องประชุม UNCC Meeting จุดประสงค์ของการประชุมนี้คือ เพื่อที่จะอภิปรายผลและข้อสรุปจากโครงการที่ได้ทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปที่ดำเนินการในประเทศไทยและเอเชีย และทางดร.ชนินทร์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยได้ร่วมเป็น Speake นำเสนอผลงานของสมาคมฯ ด้านแรงงานและการทำประมงอย่างยั่งยืน และมีคุณอรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ เลขาธิการสมาคมฯ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย มีสรุปสาระสำคัญดังนี้
- โครงการ Ship to Shore Rights >>> ดำเนินการโดยองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ( ILO) ในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของโครงการคือป้องกันและลดการบังคับใช้แรงงาน,แรงงานเด็ก และรูปแบบการทำงานอื่นๆ และป้อวกันการแสวงหาประโยชน์ต่าง ๆ จากแรงงานโดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติในภาคประมงไทย
- โครงการ Safe and Fair เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่าง ILO ,UN WOMEN และ UNODC วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพการย้ายถิ่นฐานแรงงานให้มีความปลอดภัยและความยุติธรรมสำหรับผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ The EU-UN Spotlight Initiative เพื่อจะขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก
- การประสบความสำเร็จของรัฐบาลไทย (กระทรวงแรงงาน) สามารถกระตุ้นประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่จะปฏิรูปโครงสร้างการทำงานที่ถูกกฎหมายและปรับปรุงสภาพการเป็นอยู่ที่ดีของแรงงานข้ามชาติ โดยโครงการ Ship to Shore Right s ในประเทศไทยสามารถนำไปเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ในเอเชียได้
ทาง ดร.ชนินทร์ให้ความเห็นต่อที่ประชุมว่า ทางสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยได้ตระหนักถึงเรื่องการทำประมงอย่างยั่งยืนและให้ความสำคัญด้านแรงงานมาตั้งแต่ต้น ซึ่งมีผู้ร่วมอุดมการณ์ที่ดีในการสนับสนุนนโยบายนี้ อาทิเช่น EU ILO กระทรวงแรงงาน เป็นต้น ซึ่งด้านแรงงานนั้นทางสมาคมฯ ได้มีการ สนับสนุนให้สมาชิกสมาคมทำตามแนวปฎิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) และส่งเสริมเรื่องของคณะกรรมการสวัสดิการ โดยได้รับความร่วมมือที่ดีกับสมาชิกทั้งหมดของสมาคมอีกด้วย และยังมีการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมต่างๆ ในการช่วยกันแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน การรับเรื่องร้องเรียน แต่ทั้งนี้ยังต้องเพิ่มการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมมากขึ้นในเรื่องของการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการประชาสัมพันธ์วิธีการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย