Regulation Name | พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 |
Notification date | 13 November 2015 |
Enforcement date | 14 November 2015 |
Summary by TTIA
พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 สนองพระบรมราชโองการโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีผลบังคับใช้วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558
สาระสำคัญ พรก.การประมง พ.ศ. 2558 (ใช้แทน พรบ.การประมง พ.ศ. 2558) ประกอบด้วย 11 หมวดและบทเฉพาะกาล ทั้งหมด 176 มาตรา ดังนี้ หมวด 1 บททั่วไป (ม.8-11), หมวด 2 การบริหารจัดการด้านการประมง (ม.12-29), หมวด 3 การทำการประมงในน่านน้ำไทย (ม.30-46), หมวด 4 การทำการประมงนอกน่านน้ำไทย (ม.47-54), หมวด 5 มาตรการอนุรักษ์และการบริหารจัดการ (ม.55-72), หมวด 6 การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ม.73-79), หมวด 7 การควบคุม เฝ้าระวัง สืบค้น และตรวจสอบ (ม.80-97), หมวด 8 สุขอนามัยของสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (ม.98-100), หมวด 9 พนักงานเจ้าหน้าที่ (ม.101-109), หมวด 10 มาตรการทางปกครอง (ม.110-120), หมวด 11 บทกำหนดโทษ (ม.121-170) และบทเฉพาะกาล (ม.171-176)
พรก.ฉบับนี้มีการกำหนดมาตรการในการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำการประมงในน่านน้ำไทยและนอกน่านน้ำไทย เพื่อป้องกันมิให้มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งการบริหารจัดการการทำการประมงให้สอดคล้องกับผลผลิตสูงสุดของธรรมชาติเพื่อให้สามารถทำการประมงได้อย่างยั่งยืน
หมวด 7 ส่วนที่ 1การควบคุมและเฝ้าระวัง (ม.81) เรือประมงพาณิชย์ต้องติดตั้งระบบติดตามเรือให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา จัดทำสมุดบันทึกการทำประมง ประเภทและปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ จุดจอดเรือ การขนถ่ายสัตว์น้ำ ทั้งนี้ต้องมีการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้ง
หมวด 7 ส่วนที่ 2 หลักฐานเพื่อการสืบค้น (ม.90-93) กำหนดให้ผู้ซื้อสัตว์น้ำ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำ ผู้นำเข้า-ส่งออกต้องมีใบรับรองการจับสัตว์น้ำหรือเอกสารอื่นใดที่แสดงว่าสัตว์น้ำนั้น ได้มาจากการประมงโดยชอบด้วยกฎหมาย
หมวด 7 ส่วนที่ 3 มาตรการในการตรวจสอบ (ม.95-96) เรือประมงที่มิใช่เรือไทยที่ประสงค์นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง และเมื่อเทียบท่าแล้วต้องยื่นคำขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำก่อนนำขึ้นจากเรือประมง
หมวด 8 สุขอนามัยของสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (ม.98-99) กรมประมงมีหน้าที่จัดทำมาตรฐานด้านสุขอนามัยในการดุแลรักษา การแปรรูป การเก็บรักษา การขนส่งหรือขนถ่ายและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปปฏิบัติให้ได้สัตว์น้ำที่มีคุณภาพมาตรฐานด้านสุขอนามัยและปลอดภัยต่อผู้บริโภค