Regulation Name | พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 |
Notification date | 20 February 1998 |
Enforcement date | 19 August 1998 |
Summary by TTIA
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ออกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541 ลงนามโดย นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี บังคับใช้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2541
สาระสำคัญ พรบ.ฉบับนี้มีจำนวน 16 หมวด 166 มาตรา ดังนี้ หมวด 1 บททั่วไป (ม.7-22) , หมวด 2 การใช้แรงงานทั่วไป (ม.23-37) , หมวด 3 การใช้แรงงานหญิง (ม.38-40) , หมวด 4 การใช้แรงงานเด็ก (ม.44-52) , หมวด 5 ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด (ม.53-77) หมวด 6 คณะกรรมการค่าจ้าง (ม.78-91) , หมวด 7 สวัสดิการ (ม.92-99) , หมวด 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ม.100-107) , หมวด 9 การควบคุม (ม.108-115) , หมวด 10 การพักงาน (ม.116-117) , หมวด 11 ค่าชดเชย (ม.118-122) , หมวด 12 การยื่นคำร้องและการพิจารณาคำร้อง (ม.123-125) , หมวด 13 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ม.126-138) , หมวด 14 พนักงานตรวจแรงงาน (ม.139-142) หมวด 15 การส่งหนังสือ (ม.143) , หมวด 16 บทกำหนดโทษ (ม.144-159) , บทเฉพาะกาล (ม.160-166)
พรบ.นี้กำหนดความหมาย สิทธิ หน้าที่ระหว่างนาย ลูกจ้าง โดยกำหนด มาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง / การใช้แรงงาน / การจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน / กำหนดวันหยุดประเภทต่างๆ / กำหนดการคุ้มครองแรงงาน / การใช้แรงงานหญิง , เด็ก / การจ่ายค่าตอบแทนการทำงาน / การจัดทำเอกสารการจ้าง / การพักงาน / การจ่ายค่าชดเชย / การป้องกันการคุกคามทางเพศ ม.23-37 การใช้แรงงานทั่วไป เช่น กำหนดวันหยุดตามประเพณี / กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี 6 วัน ม.38-43 กำหนดการใช้แรงงานหญิง เช่น สตรีมีครรภ์ การทำงานที่ปลอดภัย ม.44-52 กำหนดเกณฑ์การใช้แรงงานเด็กและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง / งานที่สามารถทำได้ ม.53-77 กำหนดการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด / การหักเงินแรงงาน ประเภทต่างๆ ที่นายจ้างสามารถหักได้ และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ม.96 -99 กำหนดการตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ