Regulation Name | พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ.2558 |
Notification date | 8 October 2015 |
Enforcement date | 5 April 2016 |
Summary by TTIA
พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ.2558 ออกเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2558 รับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บังคับใช้วันที่ 5 เมษายน 2559
สาระสำคัญ พรบ.ฉบับนี้มีจำนวน 15 หมวด 125 มาตรา ดังนี้ หมวด 1 บททั่วไป (ม.6-14) , หมวด 2 เงื่อนไขในการทำงานบนเรือ (ม.15-19) , หมวด 3 การจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานเป็นคนประจำเรือ (ม.20-42) , หมวด 4 สภาพการจ้าง (ม.43-65) , หมวด 5 การส่งตัวกลับ (ม.66-69) หมวด 6 ค่าสินไหมทดแทนกรณีเรือเสียหายหรือเรือจม (ม.70) , หมวด 7 อัตรากำลัง (ม.71) , หมวด 8 มาตรฐานที่พักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก อาหาร และโภชนาการบนเรือ (ม.77-77) , หมวด 9 การจัดให้มีการรักษาพยาบาล การคุ้มครองต่อชีวิต ร่างกาย และอนามัยของคนประจำเรือ (ม.78-85) , หมวด 10 ใบรับรองด้านแรงงานทางทะเลและใบประกาศการปฏิบัติด้านแรงงานทางทะเล (ม.86-88) , หมวด 10 ใบรับรองด้านแรงงานทางทะเลและใบประกาศการปฏิบัติด้านแรงงานทางทะเล (ม.86-88) , หมวด 11 การร้องเรียนบนเรือ (ม.89) , หมวด 12 สิทธิการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง (ม.90-94) , หมวด 13 พนักงานเจ้าหน้าที่ (ม.95-98) , หมวด 14 คณะกรรมการแรงงานทางทะเล (ม.99-102) , หมวด 15 บทกำหนดโทษ (ม.105-123) , บทเฉพาะกาล (ม.124-125)
กำหนดความเหมาะสมกับการจ้างงาน การทำงานบนเรือเดินทะเล และเป็นการนำเอา อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2549 (Maritime Labour Convention, 2006) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) มาปฏิบัติต่อแรงงานทางทะเล ม.15-19 การกำหนดเงื่อนไขการทำงานบนเรือ / อายุต่ำกว่า 16 ปี ขึ้นไป /คนประจำเรือต้องอายุ 18 ปีขึ้นไป ม.20-42 คุณสมบัติของคนประจำเรือ / ใบอนุญาตคนประจำเรือ ม.43 สภาพการจ้าง / ข้อตกลงการจ้างงาน / การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ / การคำนวณค่าล่วงเวลา / การจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างและค่าล่วงเวลา / ห้ามหักค่าจ้างและค่าล่วงเวลา / การกำหนดวันลาป่วย