Regulation Name | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560 |
Notification date | 31 October 2017 |
Enforcement date | 31 October 2017 |
Summary by TTIA
กรมประมงออกประกาศ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ลงนามโดย นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง มีผลบังคับใช้วันที่ 31 ตุลาคม 2560 โดยช่วงท้ายประกาศมีแบบฟอร์ม 2 ฉบับ ได้แก่ แบบฟอร์มการแจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือ(สำหรับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย) และแผนการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
สาระสำคัญ กรมประมงกำหนดให้เรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ แจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือประมงเฉพาะท่าเทียบเรือจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ระนอง ภูเก็ต ตราด และสงขลา โดยระบุระยะเวลาการแจ้งเข้าออกเรือ ดังนี้
1) กรณีขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตรัฐชายฝั่ง ให้แจ้งก่อนออกจากท่าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง กรณีเข้าเทียบท่าแจ้งก่อนไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง เว้นแต่เป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำกัมพูชาและเมียนมา แจ้งก่อนไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
2) กรณีขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยในเขตรัฐชายฝั่งอื่นหรือในทะเลหลวง แจ้งก่อนไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง กรณีเข้าเทียบท่า ให้แจ้งก่อนไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมง
3) กรณีแจ้งกลับภูมิลำเนา ซ่อมเรือ ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง กรณีที่ไม่มีสัตว์น้ำติดมากับเรือ ให้ยกเว้นการตรวจที่ท่าเทียบเรือ
4) การแจ้งเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง ในกรณีอื่น ๆ ให้แจ้งก่อนเข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมงไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ทั้งนี้เมื่อมีการแจ้งออกจากท่าเทียบเรือประมงแล้ว ต้องนำเรือออกจากท่าเทียบเรือภายใน 2 ชั่วโมง หากเกินเวลาต้องดำเนินการแจ้งออกใหม่
การแจ้งออกจากท่าเทียบเรือประมงล่วงหน้า ทั้งนี้ต้องแนบสำเนาเอกสารดังต่อไปนี้
- ทะเบียนเรือไทย
- ใบอนุญาตใช้เรือ
- ใบประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือ และบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวคนซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย
- ใบประกาศนียบัตรช่างเครื่องยนต์เรือ และบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวคนซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย
- ใบจดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ
- บัญชีรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ
- หลักฐานการติดตั้งเครื่องติดตามเรือ
- หลักฐานการติดตั้ง ระบบรายงานและระบบการเฝ้าติดตามอิเล็กทรอนิกส์
- ผังห้องเก็บสัตว์น้ำบนเรือ
- แผนการขนถ่ายสัตว์น้ำ
- แผนการของผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่บนเรือ สำหรับกรณีที่ไปขนถ่าย สัตว์น้ำ ในทะเล
ในการแจ้งเข้าท่าเทียบเรือประมงล่วงหน้า ต้องแนบเอกสารดังนี้
- การแจ้งนำเรือออกจากท่าเทียบเรือ (Port Clearance หรือ Custom Clearance) ครั้งล่าสุด ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐที่กำกับควบคุมท่าเรือนั้น
- ผังการจัดเก็บสัตว์น้ำบนเรือ (Cargo Plan/ Stowage Plan)
กรณีขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยต้องส่งเอกสารดังนี้
1) กรณีขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลและบริเวณท่าเทียบเรือของรัฐชายฝั่งอื่น ประกอบด้วย หนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ชื่อเรือประมง พื้นที่ทำการขนถ่าย ชนิดและปริมาณสัตว์น้ำ ช่วงระยะเวลาทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่รัฐให้การรับรองซึ่งมีหน้าที่กำกับควบคุมท่าเรือ กรณีการรับขนถ่ายสัตว์น้ำจากเรือประมงไทย ต้องส่งสำเนาหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ พร้อมกับสำเนาสมุดบันทึกการทำการประมง (Fishing Logbook)
2) สำเนาเอกสารการจดทะเบียนเรือประมงหรือเรือรวบรวมสัตว์น้ำ และสำเนาใบอนุญาตทำการประมง หรือสำเนาการขึ้นทะเบียนเรือ
3) Mate Receipt
4) ใบตราส่งสินค้า (Bill of lading (B/L))
กรณีรับขนถ่ายสัตว์น้ำที่ผ่านการขึ้นท่าแล้วจากท่าเทียบเรือของรัฐชายฝั่งอื่น (Loading at port) ประกอบด้วย
1) เอกสารบัญชีรายการและราคาสินค้า (Invoice)
2) ใบตราส่งสินค้า Bill of lading (B/L)
3) รายงานการรับสัตว์น้ำ (Loading declaration)
เมื่อเรือออกไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยเข้าเทียบท่า พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบบันทึกข้อมูลวีดีโอที่ติดตั้งประจำเรือ ก่อนมีการนำสัตว์น้ำ ขึ้นท่าเทียบเรือประมงและเมื่อนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงเสร็จสิ้น เจ้าของเรือต้องส่งมอบอุปกรณ์บันทึกข้อมูลวีดีโอ ที่ติดตั้งประจำเรือแก่พนักงานเจ้าหน้าที่