Summary by TTIA (17)

Regulation Name พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
Notification date 20 February 1998
Enforcement date 19 August 1998

Summary by TTIA


พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ออกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541 ลงนามโดย นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี บังคับใช้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2541

สาระสำคัญ พรบ.ฉบับนี้มีจำนวน 16 หมวด 166 มาตรา ดังนี้ หมวด 1 บททั่วไป (ม.7-22) , หมวด 2 การใช้แรงงานทั่วไป (ม.23-37) , หมวด 3 การใช้แรงงานหญิง (ม.38-40) , หมวด 4 การใช้แรงงานเด็ก (ม.44-52) , หมวด 5 ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด (ม.53-77) หมวด 6 คณะกรรมการค่าจ้าง (ม.78-91) , หมวด 7 สวัสดิการ (ม.92-99) , หมวด 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ม.100-107) , หมวด 9 การควบคุม (ม.108-115) , หมวด 10 การพักงาน (ม.116-117) , หมวด 11 ค่าชดเชย (ม.118-122) , หมวด 12 การยื่นคำร้องและการพิจารณาคำร้อง (ม.123-125) , หมวด 13 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ม.126-138) , หมวด 14 พนักงานตรวจแรงงาน (ม.139-142) หมวด 15 การส่งหนังสือ (ม.143) , หมวด 16 บทกำหนดโทษ (ม.144-159) , บทเฉพาะกาล (ม.160-166)

พรบ.นี้กำหนดความหมาย สิทธิ หน้าที่ระหว่างนาย ลูกจ้าง โดยกำหนด มาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง / การใช้แรงงาน / การจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน / กำหนดวันหยุดประเภทต่างๆ / กำหนดการคุ้มครองแรงงาน / การใช้แรงงานหญิง , เด็ก / การจ่ายค่าตอบแทนการทำงาน / การจัดทำเอกสารการจ้าง / การพักงาน / การจ่ายค่าชดเชย / การป้องกันการคุกคามทางเพศ ม.23-37 การใช้แรงงานทั่วไป เช่น กำหนดวันหยุดตามประเพณี / กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี 6 วัน ม.38-43 กำหนดการใช้แรงงานหญิง เช่น สตรีมีครรภ์ การทำงานที่ปลอดภัย ม.44-52 กำหนดเกณฑ์การใช้แรงงานเด็กและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง / งานที่สามารถทำได้ ม.53-77 กำหนดการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด / การหักเงินแรงงาน ประเภทต่างๆ ที่นายจ้างสามารถหักได้ และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ม.96 -99 กำหนดการตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ