Summary by TTIA (16)

Regulation Name ประกาศกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง เรื่อง ใบรับรองสุขอนามัยสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำประกอบการนำเข้าสินค้าที่นำมาผลิตเพื่อส่งออกสหภาพยุโรป
Notification date 20 October 2017
Enforcement date 1 November 2017

Summary by TTIA


ประกาศกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง เรื่อง ใบรับรองสุขอนามัยสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำประกอบการนำเข้าสินค้าที่นำมาผลิตเพื่อส่งออกสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2560 ลงนามโดย นางวรรณวิภา สุวรรณรักษ์ นักวิชาการผลิตภัณฑ์อาหารชำนาญการพิเศษ (รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง) มีผลบังคับใช้วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560

สาระสำคัญ สัตว์น้ำที่ประเทศไทยจะนำเข้ามาใช้ในการผลิตเพื่อส่งไป สหภาพยุโรป ต้องมีใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) จากประเทศ ผู้ส่งออกที่ระบุว่ามีการควบคุมตามข้อกำหนดสหภาพยุโรป รวมทั้งสัตว์น้ำที่จับและขนส่งมาประเทศไทยโดยเรือจับสัตว์น้ำหรือเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ จะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยที่ออกโดยกัปตันเรือ

อธิบายเพิ่มเติมโดยขยายความเป็น 3 กรณีดังนี้

1. กรณีสัตว์น้ำที่ถูกนำไปเก็บไว้ที่ห้องเย็นบนฝั่งของประเทศ CA (Competent Authority) ที่ EU รับรองเรื่องสุขอนามัย สัตว์น้ำที่ส่งออกจากประเทศนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 จะต้องมี HC ที่ออกโดย CA ประเทศนั้น
2. กรณีสัตว์น้ำถูกนำไปผลิตที่โรงงานในประเทศ CA ที่ EU รับรองเรื่องสุขอนามัย สินค้าสัตว์น้ำที่ส่งออกจากประเทศนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 จะต้องมี HC ที่ออกโดย CA ประเทศนั้น
3. กรณีสัตว์น้ำมากับเรือจับ (freezer fishing vessel) หรือเรือ carrier (freezer carrier vessel) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 สำหรับสัตว์น้ำชุดใหม่โดยนับจากวันสุดท้ายของการจับปลา จะต้องมี HC ที่ออกโดยกัปตันเรือจับ และถ้า lot นั้นมีการขนถ่ายไปยังเรือ carrier ก็จะต้องมี HC จากกัปตันเรือ carrier เพิ่มเติมด้วย

กรณีสัตว์น้ำ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาทูน่า) ที่จับและขนส่งมาประเทศไทยโดยเรือจับหรือเรือขนถ่ายแช่แข็งโดยไม่ได้มีการขนสัตว์น้ำที่ประเทศใด ๆ จะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยที่ออกโดยกัปตันเรือแนบมากับสัตว์น้ำตาม regulation (EC) No. 2074/2005 ต้องมีการตรวจรับรองตามสุขลักษณะและระบุข้อความ ดังนี้

PUBLIC HEALTH ATTESTATION

I, the undersigned, declare that

  • the vessel appears on the Approved EU list;
  • the vessel has a programme based on the HACCP principles in order to control hazards;
  • the part of the vessel where fishery products are handled, equipment, containers and the cold storage for fishery products are kept clean and maintained in good repair and condition;
  • the fishery products have been protected from contamination and from the effects of the sun or any other source of heat as soon as possible after they have been taken on board, and that they have been handled in a way that prevents bruising and other damage;
  • the fishery products have not been contaminated by fuel, bilge water or pests;
  • the slaughter, bleeding, heading, gutting, removing fins, have been carried out hygienically as soon as possible after capture, and the products have been washed immediately and thoroughly. Viscera and parts that may constitute a danger to public health has been removed as soon as possible and kept apart from products intended for human consumption;
  • only clean seawater has been used as alternative to potable water for the handling and washing of the fishery product;
  • the fishery products have been subjected to a visual examination for the purpose of detecting visible parasites, and fishery products that are obviously contaminated with parasites are not placed on the market for human consumption;
  • freezing has been carried out hygienically as soon as possible after capture;
  • frozen fishery products have been kept at a temperature of not more than – 18๐C in all parts of the product, except whole fish initially frozen in brine intended for the manufacture of canned food may be kept at a temperature of not more than – 9๐C ;
  • frozen blocks have been hygienically and adequately wrapped before landing;
  • the packages have been marked with an identification mark indicating the approval number of the freezer vessel and the flag state;
  • the wrapping material is not a source of contamination and has been stored in such a manner that it has not been exposed to a risk of contamination.