Regulation Name | ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยที่ทําการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2561 |
Notification date | 7 Jun 2018 |
Enforcement date | 7 Jun 2018 |
Summary by TTIA
ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ที่ทําการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการปลาทูน่า แห่งมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2561 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ลงนามโดย นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง มีผลบังคับใช้วันที่ 7 มิถุนายน 2561 โดยช่วงท้ายประกาศมีแบบฟอร์ม 1 ฉบับ คือ แบบฟอร์ม IOTC Transhipment Declaration และข้อมูลเพิ่มเติมแนบท้ายประกาศ ได้แก่ ภาพแผนที่แสดงพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ IOTC และสัตว์น้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของ IOTC
สาระสำคัญ
เนื่องด้วยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC) ทําให้มีสิทธิเข้าไปทําการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขต IOTC ทั้งนี้ต้องทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ ดังนี้
1) “ทุ่นข้อมูล” หมายความว่า อุปกรณ์ลอยน้ำ ทั้งแบบปล่อยลอยหรือยึดอยู่กับที่ ซึ่งใช้งานโดยหน่วยงานรัฐบาล หรือองค์กรวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อเก็บรวบรวมและตรวจวัดข้อมูลสิ่งแวดล้อม มิใช่เพื่อกิจกรรมประมง
2) พื้นที่ และชนิดของสัตว์น้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของ IOTC ตามข้อมูลแนบท้ายประกาศ
3) เรือที่เก็บรักษาสัตว์น้ำไว้บนเรือ ทําการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนําสัตว์น้ำขึ้นจากเรือที่ไปขนถ่ายสัตว์น้ำในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำตามข้อ 2) ต้องเป็นเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตของ IOTC >> www.iotc.org
ผู้ประกอบการและเจ้าของเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตของIOTC ต้องไม่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับทําการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำชนิดตาม ข้อ 2) กับเรือไร้สัญชาติหรือเรือที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตของ IOTC
4) ห้ามมิให้เรือขนถ่ายสัตว์น้ำ ใช้อากาศยานหรืออากาศยานไร้คนขับสนับสนุนกิจกรรม การประมงของเรือประมงลําอื่น
5) ห้ามเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ กระทํากิจกรรมในรัศมี 1 ไมล์ นับจากตัวทุ่นข้อมูล เว้นแต่เป็นการนําทุ่นข้อมูลขึ้นมาบนเรือเมื่อได้รับการอนุญาตจากเจ้าของผู้รับผิดชอบทุ่น
6) ห้ามเรือขนถ่ายสัตว์น้ำทําการขนถ่าย หรือมีสัตว์น้ำจําพวกวาฬ โลมา พะยูน เต่าทะเล ปลาฉลามวาฬ ปลาฉลามครีบขาว (oceanic whitetip sharks) หรือปลาฉลามหางยาว (thresher sharks) ไว้ในครอบครอง
7) การเก็บรักษาปลาฉลามชนิดอื่นโดยวิธีแช่แข็งห้ามเก็บครีบของปลาฉลามเกิน 5% ของน้ำหนักปลาฉลามในเรือ กรณีเก็บรักษาปลาฉลามแบบสด ต้องเก็บรักษาทั้งตัว จนกว่าเรือจะมาถึง ณ จุดที่นําสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือครั้งแรก
8) เรือขนถ่ายสัตว์น้ำ สามารถดําเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
8.1) กรณีขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเล (เฉพาะเรือประมงเบ็ดราวปลาทูน่า)
8.2) กรณีขนถ่ายสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือ (เรือประมงทุกประเภท)
9) ก่อนนําสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือ ผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำต้องบันทึกข้อ มูลลงใน แบบฟอร์ม IOTC Transhipment Declaration และส่งให้กับหน่วยงานที่มีอํานาจของรัฐที่ทําการนําสัตว์น้ำขึ้นท่าภายใน 48 ชั่วโมง
10) ผู้ที่ประสงค์เข้าไปทําการขนถ่ายสัตว์น้ำในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำของ IOTC ควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์/ ข้อปฏิบัติตลอดเวลา