สรุปการประชุม TTIA joined GDST Technical Workshop ครั้งที่ 2
วันที่ 29-31 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรม Park Lane Hong Kong

      สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยเป็นสมาชิกและได้เข้าร่วมประชุม Global Dialogue on Seafood Traceability Technical workshop ครั้งที่ 2 ของภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก นำโดยคุณณัฐ อ่อนศรี ที่ปรึกษา, คุณเรวดี เลิศไตรลักษณ์ กรรมการและประธานเทคนิค และคุณสุพัตรา ริ้วไพโรจน์ ผู้อำนวยการ และมีสมาชิก 2 รายได้เข้าร่วมประชุมในนามสมาชิกเอง คือ บจก.เซ้าท์อีสต์เอเชี่ยนแพคเกจจิ่งแอนด์แคนนิ่ง (คุณอดิศักดิ์ พันธุ์ทอง) และ บจก. เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (คุณเอกราช พรรณสังข์ และคุณสมศรี มณีฉาย) การประชุมครั้งนี้จัดโดย WWF IFT-GFTC และ USAID Ocean Fisheries and Partnership มีสมาชิก GDST เข้าร่วม 25 คน จาก 8 ประเทศ ทั้งผู้จับปลา ผู้ผลิต ผู้ซื้อ และNGOs ที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันมีบริษัท/องค์กรที่ให้ความสนใจเข้าเป็นสมาชิก GDST รวม 50 บริษัท
https://traceability-dialogue.org/what-is-the-global-dialogue/whos-involved-2/

สรุปสาระสำคัญดังนี้
     1. จุดประสงค์ สมาชิก GDST ร่วมกันกำหนด Key Data Elements standard (KDEs) ใน Seafood Supply Chain (wild and farmed)ทั้งจากสัตว์น้ำที่จับโดยธรรมชาติและการเพาะเลี้ยง และหาเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมเพื่อจัดการและแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นระบบ และเป็นที่ยอมรับในการนำไปใช้โดยสมัครใจของภาคเอกชน ตลอดจนผลักดันเสนอต่อรัฐบาลประเทศต่างๆ

     2. เรื่องสืบเนื่อง ที่ประชุมมีการแบ่งกลุ่มระดมความเห็นเรื่อง KDEs(wild), KDEs(farmed), การพัฒนางานระบบจัดการข้อมูล (guide for interoperate data exchange), นโยบายและกฎหมายของรัฐ และประเด็นใหม่ด้านสังคม (Social KDEs) สรุปสาระสำคัญดังนี้
      2.1 งาน Working group 1 เรื่อง KDEs list v3(wild) เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2017 เป็นงานสืบเนื่องในการกำหนด/นิยาม KDEs ที่จำเป็น โดยดูกฎหมาย EU IUU regulation, US SIMP ด้วย
       2.1.1 รายละเอียด KDEs ก็จะใช้ reference จาก International recognition standards เช่น ISO. FAO WTO etc. โดยที่ประชุมได้พิจารณารูปแบบการใส่ชื่อประเทศ ชื่อเรือ หน่วยน้ำหนัก วัน เวลา เครื่องมือประมง ชนิดปลา รูปแบบสินค้า อักษรย่อต่างๆ ที่ใช้ในทางการค้าเปรียบเทียบกับหลักการสากล ในการกรอกข้อมูล Vessel flag, Species, Weight/Quantity, Calendar date KDEs (Vessel trip, Capture , Landing and Transshipment dates) Gear type, Landing location & Transshipment location, Catch area, Production method, Product origin, Vessel of ownership, vessel name เป็นต้น
สรุป ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งมีมุมมองและข้อสังเกตที่ต่างกันไปตามประสบการณ์และความชำนาญขององค์กรนั้นๆ ซึ่งข้อสรุปในส่วนนี้ทางผู้จัดจะไปเรียบเรียงนำเสนอให้ทราบภายหลัง
       2.1.2 ทาง TTIA และสมาชิกได้ให้ความเห็นที่สำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทูน่าดังนี้
       (1) ประเด็น Catch area ที่ประชุมมีความเห็นพร้องกันว่า หากทราบข้อมูลตำแหน่งของเรือจับ
ละเอียดมากเท่าใด เช่น ใส่ข้อมูล GPS แทนการใส่ FAO area 2 digit ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นว่าการจับสัตว์น้ำนั้นเป็น non IUU Fishing อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความพึงพอใจในทางปฏิบัติต่างเห็นพ้องกันว่าให้ใส่ FAO area 2-3 digit จะดีกว่า ซึ่งในเรื่องนี้คุณณัฐชี้ให้เห็นว่าการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดของตำแหน่งเรือควรเป็นบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อการตรวจติดตาม(monitoring)หรือตรวจพิสูจน์ (validation) เรือลำนั้น ส่วนฝ่ายบริษัทผู้ค้าปลีกมองว่าต้องอิงกับกฎหมายของ Competent Authorities ที่เกี่ยวข้องด้วย
       (2) ประเด็น Product origin ทาง GDST ได้อ้างถึงนิยามของ WTO จะหมายถึงประเทศที่สินค้านั้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างเพียงพอ ซึ่งคุณณัฐเสนอให้แยกระหว่าง Seafood origin หมายถึงประเทศที่เป็นเจ้าของสัตว์น้ำนั้น กับ Product origin จะหมายถึงประเทศที่เป็นเจ้าของสินค้านั้น และการปฏิบัติตาม กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ ด้วย
       (3) การใส่ข้อมูล Species ทางสมาชิกTTIA ให้ข้อสังเกตว่าสินค้าทูน่าบางชนิด เช่น shredded tuna ใช้ by product ในการผลิต และอาจจะมีปลาทูน่าหลายชนิดผสมรวมกัน อย่างไรก็ตาม โรงงานสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้หมดเพราะในขั้นตอนการรับปลามีการบันทึกข้อมูลการคัดแยกน้ำหนักและชนิดปลาไว้
       (4) อื่นๆ เช่น
– ข้อมูลจากเรือลำเล็กควรมีความยืดหยุ่นอาจจะไม่มี fishing license, vessel name
– ข้อมูล Landing location และ Transshipment location ส่วนใหญ่เป็นที่ท่าเรือ/ประเทศ แต่ในกรณีเรือเล็กอาจจะใช้พื้นที่ในแม่น้ำหรือชายฝั่ง
      2.2 งาน Working group 1 เรื่อง KDEs list v2(farmed) เริ่มขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 การกำหนด/นิยาม KDEs ในขั้นตอน Hatchery, Feeds และ Farm และเปรียบเทียบกับของ wild โดยจะสรุปขั้นสุดท้ายภายในกันยายน 2018
ประเด็นสำคัญเช่น การกำหนดให้ผู้รวบรวมสัตว์น้ำ (Aggregator name and license) อยู่ใน KDE list ด้วย ซึ่งทาง TTIA มีความเห็นว่าบางครั้งมีผู้รวบรวมหลายช่วง ซึ่งจะทำให้ใส่ข้อมูลมากเกินไป แต่ควรมีบันทึกเป็นหลักฐานซึ่งเป็นหน้าที่ของโรงงานที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนนี้ ไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็น KDE
      2.3 งาน Working group 2 เรื่องการพัฒนาระบบการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไอที เสนอว่า เนื่องจากข้อมูล KDEs (wild and farmed) ยังไม่เสร็จ แต่ก็ควรทำงานด้านพัฒนาระบบควบคู่ไปด้วย โดยเสนอว่าหากบริษัทหรือองค์กรใดต้องการทดสอบข้อมูลของตนก็สามารถมาทำงานร่วมกันโดยให้ขอให้มีไอทีของบริษัทมาร่วมด้วย
      2.4 งาน Working group 3 เรื่องนโยบายและกฎระเบียบ มีสมาชิกได้แจ้งความประสงค์ขอให้ GDST เชิญหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มาหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลกฎระเบียบเรื่องนี้ร่วมกัน ซึ่งทางสมาคมฯ ได้เสนอให้ GDST member เข้าคุยกับหน่วยงานรัฐ เช่น กรมประมงด้วย และมีสมาชิกขอให้เชิญภาครัฐของประเทศสมาชิกอาเซียนมาด้วย
สรุปทาง GDSTจะมีการเวียนสอบถามความเห็นจากสมาชิกประมาณเดือนตุลาคม 2018
      2.5 ประเด็นด้านสังคม Task Group on Social KDEs
ในช่วงเดือนกันยายน 2017 มีสมาชิกค้าปลีกได้ยกประเด็น social/human welfare KDEs ในเรื่องนี้ที่ประชุมให้ความเห็นว่าปัจจุบันผู้ซื้อมีการกำหนดมาตรฐานด้านนี้และมีการตรวจสอบอยู่แล้วจึงไม่ควรเพิ่มงานส่วนนี้อีก ซึ่งในส่วนของโรงงานมีความพร้อมในด้านนี้ค่อนข้างมากกว่าทางเรือประมง อีกทั้งแต่ละประเทศก็จะมีกฎหมายของตน ทางสมาคมฯ เสนอว่าในส่วนของโรงงานผลิต (processor) ขอใส่ world recognized standard แทนการระบุรายละเอียดตามที่ retailer นำเสนอ
อย่างไรก็ตามทาง GDST ให้ข้อคิดว่า ข้อมูล social ก็ถือว่าอยู่ในกระบวนการตรวจสอบด้วยเช่นกัน ควรกำหนด KDEs list ที่ควรจะมี เช่น worker hour, worker contract, worker payment, ethical recruitment, humane treatment, minimum age และควรเพิ่มเติมข้อมูลสำคัญเช่น occupational safety and health, Living conditions, Time at sea, grievance mechanisms

     3. แนวทางการทดสอบสินค้า ที่ประชุมมีความเห็นว่าสินค้าที่ควรจะอยู่ในการทดสอบระบบการจัดการและแลกเปลี่ยนข้อมูล KDEs ได้แก่ สินค้าทูน่า แซลมอน กุ้ง โดยอาจจะกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น ทูน่า MSC
ทางสมาคมฯ ตอบรับว่าพร้อมที่จะร่วมทำ pilot ของ Tuna ซึ่งจะมีการคุยรายละเอียดการทำ pilot อีกครั้ง โดยจะขอให้สมาชิกที่พร้อมมีส่วนร่วมในการทำ pilot แจ้งให้สมาคมทราบฯ

     4. TTIA ข้อคิดเห็นจากการเข้าประชุม GDST ครั้งที่2
(1) สมาคมฯ ได้ร่วมให้ความเห็นการกำหนด KDEs และตอบข้อซักถามของอุตสาหกรรมทูน่าไทย ซึ่งผู้เข้าประชุมสงสัยหรือไม่ทราบ
(2) ผลการประชุมครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้ายในการกำหนดและใส่ข้อมูล KDEs (wild and farmed) ในรูปแบบที่เหมือนกัน จึงทำให้ขั้นตอนการทดสอบระบบแบบสมบูรณ์ยังทำไม่ได้
(3) ทางสมาคมฯ ต้องขอความเห็นที่ประชุมว่ามีสมาชิกที่พร้อมเข้าร่วมทดสอบนำร่องในลักษณะใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือไม่ และแจ้งกลับไปทาง GDST เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันต่อไป

ภาพประกอบการประชุม GDST Technical Workshop ครั้งที่ 2, 29- 31 สิงหาคม 2561