ข้อมูลทั่วไปของ “สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย” สมาคมฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันนโยบายหลักในการส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืน หลายประการได้แก่
- การใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะปลาทูน่า การส่งเสริมการทำประมงที่ถูกกฎหมาย
- การใช้ระบบการตรวจสอบคุณภาพทั้งจากของภาคเอกชนและภาครัฐ มาตรฐานสากล เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าเป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนคุณภาพสูงและปลอดภัย
- การเป็นหน่วยงานที่จะดูแลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศไทยและในระดับสากล
- การมีบทบาทในการเจรจาแก้ไข ลดอุปสรรคทางการค้า ด้านภาษี และอื่นๆ
- การส่งเสริมและสนับสนุนจริยธรรมในการปฏิบัติต่อแรงงาน
- การเป็นหน่วยงานที่จะช่วยส่งเสริมหาแหล่งวัตถุดิบทูน่าในด้านปริมาณและคุณภาพทั้งภายในและต่างประเทศ
- การเป็นศูนย์กลางความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจต่างๆ เพื่อ ให้อุตสาหกรรมทูน่าของไทยเติบโตได้อย่างมั่นคงยั่งยืนมีการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก
หน้าที่และพันธกิจของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย
แบ่งเป็น 6 ด้าน คือ
1) ด้านจริยธรรมในการปฏิบัติต่อแรงงาน ตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่เรือจับปลา ท่าเรือ จนถึงโรงงานแปรรูปส่งออก ทุกบริษัทประกาศชัดเจนในการต่อต้านและจะไม่มีการใช้แรงงานผิดกฎหมาย แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา สมาคมด้านการประมงแห่งประเทศไทย 8 แห่ง ในนาม “สมาคมพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย (Thai Fisheries Producers Coalition)” ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการใช้แรงงานผิดกฎหมาย
2) ด้านความปลอดภัยอาหาร ส่งเสริมการตรวจสอบคุณภาพทั้งของภาคเอกชนและภาครัฐตามมาตรฐาน สากล
3) ด้านการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และนโยบายการทำประมงอย่างยั่งยืน
4) ด้านการสนับสนุนการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ในทุกกรอบ เพื่อลดการกีดกันทางการค้าทั้งด้านภาษี และมิใช่ภาษี (เอ็นทีบี) ซึ่งในเรื่องเอฟทีเอ สมาคมมีจุดยืนเสนอรัฐบาลไทยในการเจรจาเอฟทีเอกับทุกประเทศทั้งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น เอฟทีเอ ระหว่างไทย–ออสเตรเลีย และที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น เอฟทีเอ ระหว่างไทย-สหภาพยุโรป ว่าจะต้องไม่มีกำหนดเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าเป็นจุดยืนเดียวกันทั่วโลก เนื่องจากวัตถุดิบคือปลาทูน่าสัดส่วนกว่า 90% เป็นวัตถุดิบนำเข้า ไม่ได้มาจากเรือประมงของประเทศไทยเอง ดังนั้นหากมีการกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าโดยกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศไทย ก็จะไม่ได้ประโยชน์ จากข้อตกลง แต่จะกลายเป็นอุปสรรค
5) การพัฒนาแหล่งวัตถุดิบทูน่าในด้านของปริมาณและคุณภาพ ทั้งภายในและต่างประเทศให้เข้าสู่ประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งปกติแล้วประเทศไทยจะซื้อวัตถุดิบจากแหล่งในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะมาร์แชลล์ และหมู่เกาะโซโลมอน แหล่งในมหาสมุทรอินเดียจากหมู่เกาะซีเชลส์ และซื้อจากฝรั่งเศส และสเปน เป็นต้น ซึ่งจากนี้ไปจะเข้าไปลงทุนเพื่อหาแหล่งวัตถุดิบในเมียนมาร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย เพื่อส่งกลับมาประเทศไทยให้มากขึ้น เพราะวัตถุดิบถือเป็นหัวใจสำคัญในการผลิตส่งออก
6) การเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวัตถุดิบและตลาด อาทิ ในเรื่องที่ขณะนี้ทางสหภาพยุโรปได้เก็บภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยในอัตรา 24% ซึ่งเป็นภาษีที่สูงน่าจะเกือบที่สุดในโลก ในขณะที่อีกหลายประเทศ เช่น ACP คันทรีในแอฟริกาแคริเบียนแปซิฟิก ส่วนใหญ่เสียภาษี 0% ทำให้ไทยเสียเปรียบอย่างมาก ตรงนี้เป็นประเด็นหลักที่สมาคมผลักดันให้รัฐบาลไปเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปให้ลดภาษีลงมา และต้องไม่มีการกำหนดเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า
รายชื่อที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารสมาคม วาระปี 2556-2557
#No | ตำแหน่ง | ชื่อ-สกุล | ผู้แทนของบริษัท |
---|---|---|---|
1 | ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ | นายเชง นิรุตตินานนท์ | กลุ่มไทยยูเนี่ยน |
2 | ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ | นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ | กลุ่มซีแวลู |
3 | นายกสมาคม | ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ | บริษัท ยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) |
4 | เลขาธิการและนายทะเบียน | นางอรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ | บริษัท สงขลาแคนนิ่ง จำกัด (มหาชน) |
5 | อุปนายก | นายณัฐ อ่อนศรี | บริษัท เซ้าท์อีสต์เอเชี่ยนแพคเกจจิ้งแอนด์แคนนิ่ง จำกัด |
6 | อุปนายก | นายสมบูรณ์ โชติวัฒนะพันธุ์ | บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด |
7 | อุปนายก | นายนรินทร์ นิรุตตินานนท์ | บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด |
8 | เหรัญญิก | นายวิชัย กรณปกรณ์ | บริษัท พัทยาฟู้ดอินดัสตรี จำกัด |
9 | กรรมการ | นายอมรพันธุ์ อร่ามวัฒนานนท์ | บริษัท ไอ เอส เอ แวลู จำกัด |
10 | กรรมการ | นายสุฑีร์ ธีระกิตติพงษ์ | บริษัท เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด |
11 | กรรมการ | นายกัมพล วัชระนิมิต | บริษัท ทรอปิคอลแคนนิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) |