Follow Us :
02-258-0317-8

สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ได้เดินทางไปร่วมงาน Seafood Expo Global Brussels 2018 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2561 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม โดย ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ ในนามนายกสมาคมฯ และกรรมการ คณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เป็นผู้แทนภาคเอกชน เพื่อร่วมเป็น Speaker ในงานสัมมนาเรื่อง Thailand’s Path to Sustainable Fisheries จัดโดยสถานทูตไทย คณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป และกรมประมง เพื่อประชาสัมพันธ์สถานการณ์และผลงานของรัฐบาลไทยและเอกชน ในด้านการส่งเสริมการทาประมงอย่างยั่งยืนและการแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมง

นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้เผยแพร่รายชื่อสมาชิก โบวชัวร์ แคตาลอคสินค้าของสมาชิกภายในคูหาของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และได้พบปะพูดคุยกับ Mr.Jason Judd จาก International Labour Organization และหน่วยงาน Friend of the Sea (Mr.Paolo Bray และ Mr. Massime Bardella)

การสัมมนาเรื่อง Thailand’s Path to Sustainable Fisheries เมื่อวันอังคารที่ 24 เมษายน เวลา 16.00-18.00 น. ณ ห้อง Cinedoc, Hall 2 ณ งาน Seafood Expo Global Brussels 2018 จัดโดยกรมประมง โดยมีผู้เสวนาจาก 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมประมง กระทรวงแรงงาน สานักงานตารวจแห่งชาติ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (ดร.ชนินทร์) และสเตลล่ามาริส มีผู้เข้าร่วมรับฟังประมาณ 50 คน

กรมประมง อธิบดีฯ ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของประเทศไทยและการสร้างกลไกใหม่ในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย เช่น พ.ร.ก.การประมง ระบบการตรวจติดตามและควบคุมเรือประมงที่ท่าเรือและในทะเล การตรวจติดตามด้านแรงงาน ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ และความร่วมมือกับต่างประเทศ รวมทั้งการดำเนินการตามที่สหภาพยุโรปให้คาแนะนำ

กระทรวงแรงงาน นำเสนอ เรื่องการป้องกันและกาจัดแรงงานบังคับในภาคการประมง โดยใช้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ กระบวนการนำเข้า การจ้างงาน และการส่งกลับ โดยแรงงานข้ามชาติได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายไทยและมาตรฐานสากล จัดตั้งศูนย์บริการแบบครบวงจร สร้างฐานข้อมูลแรงงานข้ามชาติ การเจรจาอย่างใกล้ชิดกับประเทศต้นทาง G-to-G การเสริมสร้างศักยภาพและจำนวนผู้ตรวจแรงงาน การดำเนินการตามกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล (ฉบับที่ 2) 2561

สานักงานตารวจแห่งชาติ นำเสนอ เรื่องการบังคับใช้กฎหมายในภาคประมง โดยรายงานผู้กระทาความผิด 4,374 คดี ในช่วงมิถุนายน 2015 – มีนาคม 2018 ที่เกี่ยวข้องกับการทาการประมงผิดกฎหมาย การคุ้มครองแรงงาน แรงงานข้ามชาติ และการค้ามนุษย์ในภาคการประมง ดำเนินการแล้ว 3,876 คดี หรือ 89% และได้ยกตัวอย่างคดีที่ดำเนินการไปแล้ว

สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย นำเสนอ เรื่องรายงานการดำเนินการของอุตสาหกรรมทูน่า กุ้งและอาหารทะเล ในด้านการทาประมงอย่างยั่งยืนและจริยธรรมด้านแรงงาน และการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม องค์การระหว่างประเทศ และผู้ซื้อ นอกจากนี้ ได้นำเสนอคลิปวีดีโอความเห็นของ UN Working Group on business and human rights ต่อการดำเนินการของอุตสาหกรรมทูน่าไทยในด้านแรงงานด้วย

ภาคประชาสังคมจากสเตล่า มาริส Stella Maris ศรีราชา นำเสนอ เรื่องความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานระหว่าง NGO กับภาครัฐ การอบรมให้ความรู้แก่แรงงานประมง และสร้างศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล


ผู้บันทึก นางสาวสุพัตรา ริ้วไพโรจน์ ผู้อานวยการ สมาคมอุตสาหรรมทูน่าไทย 2 พฤษภาคม 2561